KAS Crop Calendar Application พัฒนาประสิทธิภาพการทำเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลังจากสยามคูโบต้าได้พัฒนาเว็บไซต์ www.kubotasolutions.com ไปเมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นคลังความรู้สำคัญสำหรับเกษตรกร และประชาชนทั่วไปได้เข้ามาค้นหา และนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังเป็นช่องทางสำคัญในการนำเสนอเทคนิคด้านการเกษตรและการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร โดยได้แบ่งความรู้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลด้านการเพาะปลูก ในรูปแบบปฏิทินการเพาะปลูก (Crop Calendar) ที่ช่วยให้เกษตรกรเข้าใจและเห็นภาพการทำเกษตรได้ชัดเจน และข้อมูลเรื่องพืช ซึ่งได้รวบรวมความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ จากหน่วยงานภาครัฐที่เชี่ยวชาญเรื่องการปลูกและการวิจัย

สำหรับปฏิทินการเพาะปลูก (Crop Calendar) นับเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำเกษตร และเกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเบราว์เซอร์ (Browser) บนสมาร์ทโฟนได้ อย่างไรก็ตาม การแสดงผลบนสมาร์ทโฟนยังพัฒนาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทางสยามคูโบต้าเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาปฏิทินการเพาะปลูกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยร่วมมือกับ NECTEC ในการเป็นที่ปรึกษา และพัฒนา “KAS Crop Calendar Application” (แอปพลิเคชันปฏิทินการเพาะปลูกด้วยวิธี KAS)

ฟังก์ชันการใช้งานหลักที่สำคัญของแอปพลิเคชัน มีดังนี้

1.การแจ้งเตือนสิ่งที่เกษตรกรต้องปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของปฏิทินการเพาะปลูก โดยแจ้งเตือนตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถเพิ่ม หรือปรับขั้นตอนปฏิทินการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่หรือเทคนิคส่วนตัวได้อีกด้วย

2. การพยากรณ์อากาศ แอปพลิเคชันจะพยากรณ์อากาศล่วงหน้า 7 วัน พร้อมทั้งบอกอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุด และเปอร์เซ็นต์ความชื้นในแต่ละวัน เพื่อให้เกษตรกรสามารถวางแผนการทำการเกษตรได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

3.ครอบคลุมการเพาะปลูกทุกพืช เกษตรกรสามารถเลือกชนิดพืช พันธุ์พืช และวิธีการปลูกได้อย่างอิสระ เพื่อให้ตรงกับความต้องการที่จะปลูกพืชของเกษตรกรในแต่ละราย

4. การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เกษตรกรสามารถกรอกรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อเก็บเป็นข้อมูล และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายรับให้มากขึ้นในการทำการเพาะปลูกครั้งต่อไป

5. แสดงราคารับซื้อผลผลิตเกษตร แอปพลิเคชันแสดงสถานะราคารับซื้อผลผลิตเกษตรย้อนหลัง 7 วัน ซึ่งครอบคลุมตามชนิดพืชที่สำคัญๆ ทั้งข้าว พืชไร่ พืชสวน และผัก โดยแอปพลิเคชันดึงราคารับซื้อผลผลิตเกษตรจากเว็บสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

6. เตือนภัยการเกษตร แอปพลิเคชันแจ้งเตือนโรค และแมลงที่กำลังระบาดแต่ละพันธุ์พืชที่สำคัญ ล่วงหน้า 7 วัน พร้อมทั้งวิธีการป้องกัน เพื่อให้เกษตรกรสามารถป้องกัน และรับมือกับโรค และแมลงระบาดได้อย่างทันท่วงที ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้ามาข้อมูลดูย้อนหลังได้ตลอดเวลา ทั้งนี้แอปพลิเคชันได้ดึงข้อมูลมาจากกรมวิชาการเกษตร

7. การบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร เกษตรกรสามารถเพิ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่ตนเองเป็นเจ้าของ เพื่อให้การบันทึกข้อมูลการเพาะปลูกในแต่ละขั้นตอนเป็นเรื่องง่าย

8. รายงานสรุป เกษตรกรสามารถดึงรายงานสรุปได้จากแอปพลิเคชัน (Export) ซึ่งจะแสดงภาพรวมของการเพาะปลูก เช่น วันที่เริ่มเพาะปลูกถึงวันสิ้นสุดการเพาะปลูก สรุปขั้นตอนปฎิทินการเพาะปลูกทั้งหมด สรุปรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้น และสรุปผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก เป็นต้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำรายงานสรุปไปพัฒนาการทำเกษตรของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด

วิธีการติดตั้งแอปพลิเคชัน และการสมัครสมาชิก

1.สแกน QR Code ด้านล่าง หรือกดลิงก์นี้ http://onelink.to/kwntgr เพื่อดาวน์โหลด

2. หลังจากสแกนแล้ว จะปรากฎหน้าแอปพลิเคชัน ให้กดปุ่มติดตั้งแอป

3. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เปิดแอปพลิเคชันเพื่อทำการสมัครสมาชิก โดยสามารถวิธีการสมัครสมาชิกได้ทั้งเบอร์โทรศัพท์ Facebook หรือ LINE ID เป็นต้น

สำหรับการใช้งานแอปพลิเคชันอย่างละเอียด ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เอกสารด้านล่าง ดาวน์โหลดฟรี!!!

บทความที่เกี่ยวข้อง

กว่า 39 ปีของการดำเนินธุรกิจ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ไม่เคยหยุดยั้งที่จะส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีความรู้ความสามารถในการทำเกษตรอย่างรอบด้าน โดยการนำ KUBOTA (Agri) Solutions ทุกคำตอบเรื่องการเกษตร มาช่วยยกระดับเกษตรกรรมไทย ด้วยนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรและนวัตกรรม
กว่า 40 ปีที่สยามคูโบต้า ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในอาเซียนได้เติบโตและยืนหยัดในการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นเลิศ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยให้ก้าวหน้า และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้ดียิ่งขึ้น โดยล่าสุด สยามคูโบต้าได้เล็งเห็นถึงการส่งเสริมให้เกษตรกรได้ผลผลิต
ภายหลังจาก สยามคูโบต้าได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุน โครงการ KUBOTA (Agri) Solutions ในการร่วมกันพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้ปลูกจนถึงขุดเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง เพื่อช่วยเกษตร