ศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ในประเทศไทย

ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตข้าวอินทรีย์สูงมาก เพราะมีพื้นที่นา ทรัพยากรน้ำ และปัจจัยแวดล้อมทั่วไปเหมาะแก่การทำนา มีความหลากหลายของพันธุ์ข้าวที่ปลูก เกษตรกรไทยคุ้นเคยกับการผลิตข้าวมาหลายศตวรรษ

การผลิตข้าวของประเทศไทยในสมัยก่อนเป็นระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์เพราะไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ต่อมาในปัจจุบันถึงแม้จะมีการใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ในนาข้าวแต่ก็ยังมีใช้ในปริมาณน้อย และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการผลิตข้าวอินทรีย์ในภูมิภาคต่างๆ

จากปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล และเทคโนโลยีที่เหมาะสมการผลิตข้าวอินทรีย์ที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นถึงศักยภาพข้าวอินทรีย์ในประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกร นอกจากผลิตเพื่อส่งออกจำหน่ายนำเงินตราเข้าประเทศแล้ว ยังสามารถขยายการผลิตเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ เพื่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทยรวมถึงการลดปัญหามลพิษที่กำลังประสบอยู่ในภาวะในปัจจุบันนี้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคกลาง 6. ชุดดินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen series : Ks) กลุ่มชุดดินที่ 33 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
ทำไม ? ต้องเก็บพันธุ์พืชท้องถิ่น ในยุคสมัยปัจจุบันที่การแก่งแย่งแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ การผลิตอาหารป้อนให้ทันความต้องการถือเป็นประเด็นสำคัญ การมุ่งปรับปรุงพันธุ์พืชอย่างไรให้ได้ผลผลิตมากๆ ทำให้เกิดพันธุ์พืชลูกผสมมากมายหลายสายพันธุ์ เมื่อเกิดการปรับปรุงไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดฐานพันธุกรรมพืช