การจัดการการปนในข้าวแดงหอม (Red Hawm Rice)

เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้

  1. ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใกล้กับพันธุ์ข้าวที่มีวันออกดอกต่างกันน้อยกว่า 15 วัน
  2. การปลูกข้าวควรมีการตรวจ และตัดข้าวปนออก ซึ่งสามารถกระทำได้ทุกระยะการเจริญเติบโต เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของข้าวแต่ละพันธุ์
  3. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องทุ่นแรง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว นวด ตาก ทำความสะอาด และการขนส่งทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนไปใช้กับข้าวพันธุ์อื่น
  4. ควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวแดงได้โดยเฉพาะ
  5. ควรเป็นการผลิตแบบครบวงจรโดยมีการขึ้นทะเบียนผู้ปลูก และมีนักวิชาการด้านพันธุ์ข้าวคอยดูแล ให้คำแนะนำในขั้นตอนการผลิต

บทความที่เกี่ยวข้อง

มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ดังนี้ 1.ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ 2.ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย
เมล็ดที่มีการฟักตัว คือ เมล็ดที่มีชีวิตแต่ไม่งอก แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ระยะฟักตัวหาได้จากจำนวนวันหลังจากเก็บเกี่ยว ถึงวันที่เมล็ดงาน 80% โดบนับทั้งต้นอ่อนสมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ ระยะฟักตัวของข้าวแตกต่างกันไปตามพันธุ์