ชุดดินท่าแซะ

ชุดดินที่สำคัญที่ใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ภาคใต้

8 ชุดดินท่าแซะ (Tha Saeseries : Te)

กลุ่มชุดดินที่ 34

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณตะพักลำน้ำ

สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน :  เร็ว

ลักษณะสมบัติของดิน :เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาลถึงสีเหลืองปนน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินบนแล้วลดลงตามความลึก

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณภาคใต้ กระจายตัวอยู่ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน

ปัญหาและข้อจำกัด :  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ดินค่อนข้างเป็นทราย ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำและแร่ธาตุอาหารน้อย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำดีขึ้น

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปลูกอ้อยน้ำน้อย เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ศึกษาดูงานจากต่างประเทศและทำการวิจัยเพื่อปรับให้สามารถใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยหลักการคือ ต้องการบริหารจัดการน้ำภายในแปลงอ้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากข้อมูลสถิติที่ทาง สสนก. ศึกษาพื้นที่ ต.ซับสมบูร
ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วแขก หรือถั่วเม็ดนุ่น เป็นชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ มีลักษณะต้น ใบ กิ่งก้าน ฝัก และเมล็ดใกล้เคียงกับถั่วเขียวธรรมดา ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด ส่วนเปลือกถั่วและซากลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ ยังสามารถปลูกไว้เพื่อใช้ทำปุ๋ยพืชสดได้ ปัจจุบันผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำตลาดของ
อีกหนึ่งคำยืนยันความสำเร็จจากเกษตรกรที่ปลูกข้าวด้วยวิธี KAS โดยใช้เครื่องหยอดและรถปักดำ ณ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ในปัจจุบันวิธีการปลูกข้าวที่เกษตรกรนิยม คือ การทำนาหว่าน ซึ่งมีข้อดี คือ สะดวกและรวดเร็ว แต่การทำนาหว่านก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน เนื่องจาก