การปักดำข้าวด้วยเครื่องปักดำ

ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องปักดำ

  • นาหว่าน มีปัญหาข้าวดีด,หญ้าวัชพืชและผลผลิตต่ำ
  • ในการขาดแคลนแรงงานคนในช่วงเวลาปักดำ รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานสูง เป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกข้าว โดยเฉพาะในท้องที่ที่ยังคงปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำ การใช้รถดำนาจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

เครื่องปักดำทำงานอย่างไร?

 เครื่องปักดำมี 2 ประเภท คือ เดินตาม และนั่งขับ เครื่องยนต์มีทั้งเบนซิลและดีเซลสามารถปักดำได้ครั้งละ 4,6 และ 8 แถว (ตามแต่ละรุ่นที่กำหนดไว้) ระยะห่างระหว่างแถว 30 เซนติเมตร(ไม่สามารถปรับได้) ส่วนระยะห่างระหว่างกอสามารถปรับได้(ขึ้นอยู่กับรุ่น) และนอกจากนั้นยังสามารถปรับความลึกในการปักดำได้อีกด้วย

วิธีการเตรียมแปลง

1.  ไถ-คราดดินในแปลงตามปกติเหมือนกับแปลงนาที่เตรียมไว้สำหรับใช้แรงงานคนปักดำ

2.  หลังการไถ-คราดแล้วต้องพักแปลงไว้โดยขังน้ำทิ้งไว้ 3-5 วัน (ขึ้นอยู่กับลักษณะดิน) เพื่อให้ดินเลนในแปลงตกตะกอนก่อน เพราะถ้าดินเลนในแปลงยังเหลวจะไม่มีแรงยึดต้นกล้า ทำให้ต้นกล้าล้มง่าย และดินเลนยังจะถูกสกีเบียดไหลไปทับต้นกล้าในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานด้วย

3.  แปลงที่เป็นดินเหนียวใช้เวลาพักแปลงประมาณ 3-4 วัน ในดินทรายใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน

4.  ขณะที่ใช้เครื่องดำนาให้รักษาระดับน้ำในแปลงให้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร หรือครึ่งหนึ่งของความสูงของต้นกล้าที่ปักดำแล้ว

วิธีการเตรียมการใช้เครื่องปักดำ

  • ปรับความลึกในการปักดำ ปรับระยะห่างระหว่างกอ และปรับจำนวนต้นต่อกอ ให้ได้ตามที่ต้องการ
  • นำแผ่นกล้าใส่ลงในแผงใส่กล้า จากนั้นก็สามารถขับเคลื่อนรถดำนาได้

ข้อควรระวัง

  • การเตรียมแปลงปักดำไม่ควรไถลึกเกินไป เพื่อง่ายต่อการควบคุมเครื่องปักดำ
  • อย่าใช้เครื่องปักดำในแปลงนาที่มีดินแห้งเด็ดขาด เพราะเครื่องดำนาจะเสียหาย
  • การปักดำด้วยเครื่องจำเป็นต้องใช้กล้าที่ตกเป็นแผ่นในถาดเพาะกล้าหรือในแปลงนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายหันกลับมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในนาข้าว โดยอาศัยหลักการพึ่งพากันของธรรมชาติ เกิดองค์ความรู้จากการสังเกตว่า พืชผักใบเขียวในส่วนยอดอ่อนๆ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ในปริมาณมาก เมื่อนำมาหมักให้เ
ชุดดินที่สำคัญที่ใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ภาคใต้ 8 ชุดดินท่าแซะ (Tha Saeseries : Te) กลุ่มชุดดินที่ 34 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว
ระบาดรุนแรง ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในเขตชลประทานหรือพื้นที่นา ทำให้ผลผลิตเสียหาย 30 – 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ CCS ลดลง โดยโรคเหี่ยวเน่าแดง เกิดจากการทำลายของเชื้อรา 2 ชนิด คือ Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum เชื้อ Fusarium moniliforme อยู่ในดิน สามารถ