เทคโนโลยีการจัดการพืชเพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดอย่างมีประสิทธิภาพ

1.  การเลือกปลูกพืชที่เหมาะสม

การเลือกปลูกพืชที่ทนกรด ทนต่อการขาดธาตุอาหารบางชนิดและพืชที่ทนต่อสารพิษของเหล็กและอะลูมินัมได้จะเป็นการช่วยลดต้นทุน  การผลิตจากการใช้ปูนปรับปรุงดิน ทั้งนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดี เนื่องจากการปลูกพืชในพื้นที่ดินที่เปรี้ยวจัดต้องลงทุนในการจัดการดินและน้ำสูง พืชที่ปลูกต้องเป็นพืชทนเปรี้ยวและให้ผลตอบแทนสูง เช่น เลือกปลูกข้าวพันธุ์ทนเปรี้ยว เช่น พันธุ์ข้าว กข 19กข 27ขาวดอกมะลิ 105ตะเภาแก้ว 106เล็บมือนาง 111 เป็นต้น


1.  
เลือกใช้ระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม

เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชตระกูลถั่วก่อนหรือหลังการปลูกข้าว การปลูกผักอายุสั้นหมุนเวียนในนาข้าวหรือปลูกผักแซมในพืชหลัก

2.  ปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืช

เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เปลี่ยนระบบการปลูกพืชจากการทำนาปลูกข้าวเป็นการยกร่องเพื่อปลูกพืชอื่น

–  ปลูกผัก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว พริก ผักกาดเขียวปลี มะเขือเทศ มันเทศ

–  ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เฮลิโคเนีย ปทุมมา

–  ปลูกไม้ผล พืชไร่ ไม้โตเร็ว เช่น แก้วมังกร ส้มเขียวหวาน มะม่วง กล้วย สับปะรด มะพร้าว ละมุด อ้อย ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

   การปรับปรุงแก้ไขดินเปรี้ยวจัดโดยการบูรณาการวิธีการต่างๆเข้าด้วยกัน ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขดินให้มีสภาพเหมาะสำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด เลือกวิธีการที่ปฏิบัติได้ง่ายและลงทุนต่ำ ได้แก่ การใช้วัสดุปูนปรับปรุงดิน หรือเพิ่มธาตุอาหารพืชโดยการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่ผลิตจากสารเร่งซุปเปอร์พ.ด.2การควบคุมดูแลปริมาณและคุณภาพน้ำให้ดีและเพียงพอ และการเลือกปลูกพืช ชนิดที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งวิธีการจัดการจะทำให้การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เกิดประสิทธิผลมากที่สุดและเกิดความยั่งยืนตลอดไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง รูปแบบวัสดุภายนอกที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ทางการค้าของผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายและการนำไปใช้ของผู้บริโภคการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจดูจากรูปลักษณ์ภายนอกก็คือ การจับถนัดมือ สีสัน ขนาด
การใช้น้ำในนาปรังอย่างประหยัด ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ในการเจริญเติบโตของข้าวแต่ละพันธุ์ และปริมาณน้ำที่มีอยู่ในระบบ
ความสำคัญ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา จัดเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่มีความสำคัญ ที่สามารถทำลาย ไข่หนอนกออ้อย ไข่หนอนกอข้าว ไข่หนอนเจาะสมอฝ้าย และไข่หนอนกระทู้เป็นต้น โดยตัวเมียของแตนเบียนไข่ทริโคแกรมม่าจะวางไข่ ไว้ในไข่ของแมลงศัตรูพืช ทำให้ไข่ไม่ฟักออกเป็นตัวแต่จะฟักออกเป็นแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา มักใช้แตน