การอนุรักษ์ดินและน้ำ
นอกเหนือจากการปรับปรุงดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีสมบัติอื่น ๆ ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ในขณะเดียวกันควรมีการป้องกันหรือควบคุมความเสื่อมโทรมของดินไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุดรูรั่วหรือป้องกันการสูญเสียเนื้อดินที่ดีรวมทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารออกไปจากพื้นที่ปลูกด้วย มิฉะนั้นแล้วการปรับปรุงบำรุงดินโดยการ “เติม” ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงดิน หรือสารชนิดอื่น ๆ อาจไม่ได้ผลดีในการปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น เพราะเมื่อมีการเติมปุ๋ยหรือสารต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไปแล้วก็อาจจะเกิดการ “สูญเสีย” ออกไปจากพื้นที่พืชเองก็จะมีโอกาสดูดใช้ธาตุอาหารได้น้อย โดยทั่วๆไปวิธีการป้องกันหรือควบคุมการสูญเสียเนื้อดินและน้ำมีหลายวิธีในทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่
1) เตรียมดินให้ถูกวิธีโดยการไถพรวนและยกร่องตามแนวระดับขวางความลาดเทซึ่ง จากผลการทดลองโดยทั่วๆไปพบว่าจะช่วยป้องกันการสูญเสียเนื้อดินได้ดีมากนอกจากนั้นในบางท้องที่อาจปลูกมันสำปะหลังโดยการไม่ไถพรวนดินเลยแต่มีการใช้ยาฆ่าหญ้าหรือยาควบคุมวัชพืชให้ดีจะมีส่วนช่วยป้องกันการชะล้างและพังทะลายของดินและการไหลบ่าของน้ำได้ดีเช่นกันในบางกรณีถ้าดินบนมีลักษณะแน่นแข็งมากหรือมีชั้นดินดานบริเวณใต้ผิวดินและทำให้มีปัญหาต่อการซึมของน้ำฝนรวมทั้งการลงหัวของมันสำปะหลังการเตรียมดินโดยการใช้ไถสิ่ว (sub-soiler) เพื่อทำลายชั้นดินดานจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ดีกว่าการเตรียมดินโดยการไถพรวนตามปกติ
2) การปลูกพืชบางชนิดเป็นแถวขวางความลาดเทของพื้นที่ซึ่งแถวของพืชที่แนะนำให้ ปลูกสลับกับแถวมันสำปะหลังในระยะที่เหมาะสมเช่นทุกๆระยะ 20-30 เมตรคือต้นหญ้าแฝกที่กรมพัฒนาที่ดินมีการแนะนำให้ปลูกป้องกันการสูญเสียดินและน้ำอย่างกว้างขวางทั่วประเทศพืชชนิดนี้เป็นพืชที่มีระบบรากลึกทนแล้งได้ดีเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแตกกอชิดกันหนาแน่นแข็งแรงและแถวกำแพงพืชชนิดนี้จะช่วยปะทะเพื่อลดแรงไหล่บ่าของน้ำและดักตะกอนดินได้ดีมากทำให้เกิดการสูญเสียดินและน้ำน้อยลงอย่างเด่นชัด
3) สำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกต้นฤดูฝนเนื่องจากเป็นช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันและมัน สำปะหลังเองก็ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทะลายของดินโดยน้ำฝนได้ง่ายและในปริมาณมากในกรณีเช่นนี้การใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ในระยะเริ่มแรกหลังปลูกเช่นประมาณ 1 เดือนหลังปลูกจะช่วยทำให้มันสำปะหลังโตเร็วขึ้นเกิดการสร้างและการประสานกิ่งใบระหว่างต้นแผ่ปกคลุมผิวดินสามารถรองรับแรงปะทะของน้ำฝนได้เร็วขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียดินและน้ำน้อยลง
โดยสรุปการปรับปรุงบำรุงดิน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำดินที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและการป้องกันการเสื่อมโทรมของดินควรปฏิบัติควบคู่กันไปแบบผสมผสานไม่ควรเลือกปฏิบัติแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดผลดีเต็มที่หรืออีกนัยหนึ่งเมื่อมีการ“เติมเพื่อเพิ่ม” ให้กับดินก็ต้องมีการ“อุดเพื่อป้องกันการสูญเสีย” สิ่งที่เติมลงไปรวมทั้งหลังมีการอนุรักษ์เนื้อดินที่มีอยู่แล้วเดิมด้วยจึงจะทำให้ดินนั้นมีสมบัติดีขึ้นกว่าเดิมเรื่อยๆยกตัวอย่างเช่นถ้าเป็นดินร่วนปนทรายที่มีธาตุอาหารพืชต่ำหรือขาดปุ๋ยธรรมชาติไม่อุ้มน้ำและถูกฝนชะล้างและเกิดการพังทลายของดินได้ง่ายวิธีการดูแลรักษาดินควรปฏิบัติดังนี้
- มีการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวอย่างเหมาะสมหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์รูปใดๆก็ได้ในปริมาณที่มากเพียงพอ
- ถ้าจะมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่ไม่สามารถจัดหาปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักได้ควรใช้ปุ๋ยพืชสดแทนโดยเป็นพืชตระกูลถั่วที่เหมาะสม
- ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทควรเตรียมดิน โดยการยกร่องปลูกพืชขวางความลาดเท หรือ ปลูกต้นแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางควาลาดเท โดยใช้ระยะระหว่างแถวแฝกที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียดินและน้ำ
การปลูกแฝกในไร่มันสำปะหลังในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดเอียงการปลูกแฝกขวางแนวลาดชันในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจะช่วยลดการชะล้างพังทลายของดินเนื่องจากมันสำปะหลังเจริญเติบโตช้าในช่วง 1-3 เดือนแรกเมื่อฝนตกทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินสูงการปลูกแฝกจะปลูกขวางทางน้ำไหลจะช่วยลดการสูญเสียหน้าดินเมื่อแฝกอายุ 2-3 ปีก็สามารถดักตะกอนดินทำให้ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้นการปลูกหญ้าแฝกในไร่มันสำปะหลังควรใช้ระยะปลูกระหว่างหลุม 10 เซนติเมตรหลุมละ 1 ต้นเมื่อดำเนินการตามวิธีการข้างต้นดินในพื้นที่ที่มีสมบัติไม่เหมาะสมจะไม่มีสมบัติที่เลวลงไปกว่าเดิมและจะมีแนวโน้มที่จะมีสมบัติที่ดีขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับที่จะทำให้ได้ผลผลิตของมันสำปะหลังในระดับสูงอย่างสม่ำเสมอและยาวนาน