ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง

ชนิดดิน

ดินมันสําปะหลังในประเทศไทย เป็นดินไร่ในที่นาดอนหรือที่ดอนที่มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ ลาดชัน หรือมีลักษณะ ลูกคลื่นลอนลาด จําแนกชนิดชั้นดินตามระบบอนุกรมวิธานดินได้ 6 ชั้น ชั้นดินที่นิยมนําข้อมูลดินมาใช้ในการวางแผน การใช้ที่ดินเพื่อการผลิตพืชเศรษฐกิจมากที่สุด คือ ชั้นกลุ่มดิน และชุดดิน ชุดดินสําคัญที่ใช้ปลูกมันสําปะหลัง ได้แก่ ชุดดินโคราช วาริน สตึก ยโสธร ห้วยโป่ง มาบบอน

ชุดดินแต่ละชุดมีสมบัติแตกต่างกัน สมบัติที่สําคัญที่ใช้ในการจําแนกชนิดดินและเพื่อกําหนดคําแนะนําเบื้องต้น ในการจัดการดินเพื่อการปลูกพืช คือ ประเภทเนื้อดิน 3 แบบ คือ ดินเนื้อละเอียด ดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อหยาบ

ประเภทเนื้อดินของดินที่ใช้ปลูกมันสําปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย คือ ดินร่วนปนทราย รองลงมาคือ ดินทราย ดินเหนียวสีแดง และดินเหนียวสีดําที่มีฤทธิ์เป็นด่าง

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสําปะหลัง

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกมันสําปะหลังควรเป็นดินเนื้อปานกลาง เช่น ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินเนื้อหยาบ ประเภทดินร่วนปนทรายหรือดินเหนียวที่มีการจัดการดินดี ทําให้ดิน มีสมบัติเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ ของธาตุอาหารพืชและปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ดินมีความโปร่งซุย ไม่อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดาน แผ่นแข็งปิดผิว การกร่อนดิน ระบายอากาศ อุ้มน้ํา และระบายน้ำส่วนเกินได้ดี มีอัตราการแทรกซึมน้ำเหมาะสม ไม่เกิดชั้นน้ำใต้ดิน หรือมีน้ำขังบนผิวหน้าดินนานหลังฝนตกในปริมาณมาก ดังนั้นดินที่มีสมบัติไม่เหมาะสมต่อการปลูก มันสําปะหลังต้องมีการจัดการดินโดยวิธีการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการจัดการดินเฉพาะพื้นที่ในไร่ของ เกษตรกรเอง

สมบัติของดินที่จํากัดการเติบโตของมันสําปะหลัง

ดินมันสําปะหลังในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ ได้แก่ ดินทราย ดินทรายร่วน และดินร่วนปนทราย ดินประเภทนี้ในชั้นดินบน มีอนุภาคดินขนาดเม็ดทรายสูง และมีอนุภาคดินขนาดเม็ดเล็กกว่า ในรูปทรายแป้ง และแร่ดินเหนียวต่ำ มีโครงสร้างไม่ดี อุ้มน้ำและ ดูดยึดธาตุอาหารพืชได้น้อย เกิดการชะละลายของธาตุอาหารพืชได้ง่าย อ่อนไหวต่อการเกิดชั้นดานใต้ผิวดิน ชั้นน้ำใต้ดินชั่วคราว และอาจเกิด แผ่นแข็งปิดผิว ถ้าจัดการดินไม่ดี ทําให้ดินมีอัตราการแทรกซึมน้ําต่ำ เกิดการไหลบ่าของน้ำ น้ำท่วมขังบนผิวดิน และเกิดการกร่อนดิน และที่สําคัญคือ มีปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชในดินต่ำ มีผลทําให้สมบัติโดยรวมเป็นดินที่จํากัดการเติบโตและให้ผลผลิต มันสําปะหลังต่ำ

ดินมันสําปะหลังในบางพื้นที่เป็น ดินเนื้อละเอียดประเภทดินเหนียวสีแดง สีเทาดํา หรือสีดํา มีสมบัติแน่นทึบ ระบายน้ำและอากาศไม่ดี และถ้าเป็น ดินที่มีฤทธิ์เป็นด่างจะมีปัญหาขาดธาตุ อาหารเสริม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุเหล็ก และธาตุสังกะสี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เกษตรกรปลูกปาล์มระวังด้วงแรดบุกสวน โดยตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช บินขึ้นไปกัดเจาะบริเวณโคนทางใบหรือยอดอ่อนของปาล์ม รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้ การป้อง
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium และ Acremonium การระบาด 1. ทางท่อนพันธุ์ 2. เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ 3. โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ลักษณะอาการ อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย
จอกหูหนูยักษ์ สิ่งที่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช เป็นเฟิร์นน้ำต่างถิ่นที่ลอยน้ำอย่างอิสระ ไม่ยึดเกาะกับดิน ลำต้นทอดยาวอยู่ใกล้ผิวน้ำ แต่ละข้อมีใบ 1 คู่ อยู่เหนือผิวน้ำ เมื่อเล็กมีรูปร่างกลม แบน ลอยปิ่มน้ำ เมื่อโตเต็มพื้นที่ใบทั้งคู่จะยกตัวขึ้นปลายใบแยกออกจากกัน ผิวใบด้านบนปกคลุมด้วยขนแข็ง