การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว  การจัดการดูแลดี โดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมตลอดจนการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้ความอร่อยของมันสำปะหลังสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้อัตราความอยู่รอดของมันสำปะหลังสูงขึ้น

การคัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์

1.  ต้องใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุ 8-14 เดือน โดยสังเกตจากสีของลำต้นที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นสีเข้มเมื่อมีอายุ  มากขึ้น และไม่มีโรคแมลงติดมา

2.  ต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ให้ดี หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรรีบนำต้นพันธุ์ไปปลูกทันที หากจำเป็นต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ไว้ทำพันธุ์ต่อไป สามารถทำได้โดยตั้งกองพันธุ์ไว้กลางแจ้งในแนวตั้ง ให้ส่วนของโคนสัมผัสผิวดิน หรือใช้ดินกลบโคนและกองไม่ให้ใหญ่เกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเท ซึ่งวิธีการดังกล่างจะสามารถเก็บรักษาต้นพันธุ์ได้ 15-30 วัน หรือนานถึง 2 เดือน แต่ถ้าเก็บรักษาไว้นานต้นจะแห้งจากส่วนปลายลงมา และตาจะแตกทำให้ได้จำนวนท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์น้อยลง

3.  ต้องใช้ส่วนกลางของลำต้น ควรเป็นส่วนกลางของลำต้นที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป

4.  ต้องตัดท่อนที่มีความยาวเหมาะสม ในช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 20 เซนติเมตร และช่วงปลายฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 25-30 เซนติเมตร (ควรมีตาอย่างน้อย 5-7 ตา) ส่วนการสับท่อนพันธุ์ ควรสับให้เฉียงเล็กน้อย และหลีกเลี่ยงให้ตาบนท่อนพันธุ์ช้ำ หรือถูกกระทบกระเทือน

5.  วิธีการปลูกที่เหมาะสม

ควรปลูกแบบปักตรงหรือเอียงเล็กน้อย เป็นวิธีให้ผลผลิตสูงความลึกในการปักท่อนพันธุ์ลงในดินประมาณ 8-10 เซนติเมตร แต่ไม่ควรปักลึกมากและควรมีการตรวจสอบความงอกหลังปลูกเพื่อให้ซ่อมได้ทันเวลา

บทความที่เกี่ยวข้อง

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามการตอบสนองต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวไวต่อแสง (Photoperiod Sensitive Varieties) เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสง หรือช่วงเวลากลางวันสั้นเพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตของลำต้นและใบมาเป็นการเจริญทางการสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด โดยข้าวจะสร้างช่อดอกเมื่อช่วงแสงสั้น
หนอนชอนใบอ้อย (แมลงดำหนามอ้อย) (Sugarcane hispid beetle) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhadinosa reticulate Baly วงศ์ : Hispidae รูปร่างลักษณะ : หนอนชอนใบอ้อย หรือ แมลงดำหนามอ้อย เป็นด้วงปีกแข็งมีขนาดเล็ก ตัวยาว 3-4 มิลลิเมตร มีสีดำ บนหลังและปีกมีหนามแข็งยาวแหลมอยู่ทั่วไป ตัวเมียวางไข่ใบเดี่ยว ๆ ไว้ใต้
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคเหนือ 1. ชุดดินหางดง (Hang Dongseries : Hd) กลุ่มชุดดินที่ 5 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณที่ราบตะกอนน้ำพาหรือตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 % การระบายน้ำ : เลว การซึมผ่านได้ของน้ำ : ช้า การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : ช้า