แนวคิดการจัดการการผลิตมันสำปะหลังด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

ก่อนปลูก

  • เก็บตัวอย่างดิน เมื่อวิเคราะห์และทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  • ไถเตรียมดิน ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เหมาะสม
  • ไถระเบิดดินดาน โดยใช้เครื่องไถระเบิดดินดาน ตราช้างรุ่น SS5  ซึ่งออกแบบหัว  ริปเปอร์ให้เรียบแบบมีปีก ทำให้การระเบิดดินดานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร และ ทั่วพื้นที่  ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกสามารถสะสมความชื้นและน้ำภายในดิน ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช
เครื่องไถระเบิดดินดาน ตราช้างรุ่น SS5
  • ไถบุกเบิกไถให้ลึก 30 – 35 เซนติเมตร ด้วยผานบุกเบิก DP243H ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับแทรกเตอร์คูโบต้าโดยเฉพาะ มั่นใจได้ในความทนทาน ไถดินลึก มีให้เลือกหลายขนาด ได้แก่ ผานขนาด 24 นิ้ว แบบ 3 ใบ และผานขนาด 26 นิ้ว แบบ 3 ใบ พร้อมชุดคัดท้ายปรับตั้งได้ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานในแต่ละพื้นที่
ผานบุกเบิก DP243H
  • ไถพรวนด้วยผานพรวน DH247H ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต่อพวงสำหรับแทรกเตอร์คูโบต้า M6040SU อุปกรณ์ชุดนี้จะช่วยให้ดินมีความร่วนซุยเหมาะสำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลัง
ผานพรวน DH247H

ท่อนพันธุ์

  • เลือกท่อนพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่
  • ท่อนพันธุ์เหมาะสมคือ อายุ 10 -12 เดือน ตัดทิ้งไว้ไม่เกิน 15 วัน โดยตัดเป็นท่อนให้มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีตาไม่น้อยกว่า 7 ตา เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
  • แช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูก

การปลูก

ใช้แทรคเตอร์ติดตั้งพวงมาลัยอัตโนมัตินำร่องด้วยระบบ GPS  เป็นต้นกำลังต่อพ่วงเครื่องปลูกมันสำปะหลัง CP 100 โดยรวม 3 ขั้นตอนในการปลูก คือ การยกร่องพร้อมใส่ปุ๋ย  รองพื้น  ตัดท่อนพันธุ์ และปลูก  ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่เต็มประสิทธิภาพสะดวกต่อการจัดการ  ลดการใช้แรงงาน ลดต้นทุน และลดการสูญเสียผลผลิต

เครื่องปลูกมันสำปะหลัง CP100

30 – 120 วัน หลังจากการปลูก

  • ฉีดพ่นยาคุมหญ้ากำจัดวัชพืชด้วยเครื่องพ่นอเนกประสงค์ BS350 ซึ่งสามารถฉีดพ่น ครอบคลุมสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ พ่นอย่างต่อเนื่องด้วยหัวฉีดพ่นคุณภาพที่มีขนาดละอองและปริมาณการพ่นที่เหมาะสม รวมถึงการออกแบบระยะและองศาการพ่นมีการซ้อนทับกัน ทำให้การพ่นสารเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพทั่วพื้นที่ ไม่สิ้นเปลืองสาร
เครื่องพ่นอเนกประสงค์ BS350
  • ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เช่น ใส่ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต สามารถใช้เครื่องฝังปุ๋ย SF440 ซึ่งฝังปุ๋ยลึก สม่ำเสมอ ได้ผลผลิตเต็มที่ การทำงานของหัวเปิดร่องที่ถูกออกแบบมาให้ทำมุมที่เหมาะสม แหวกดินอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระบบจ่ายปุ๋ยถูกออกแบบให้ควบคุมปริมาณปุ๋ยโดนการทำงานของชุดลูกหยอด (ชุดโรลเลอร์) ทำให้อัตราการฝังปุ๋ยสม่ำเสมอ ได้ผลผลิตเต็มที่
เครื่องฝังปุ๋ย SF440

30 – 360 วัน หลังจากการปลูก

  • ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยดที่ควบคุมการปิด – เปิดอัตโนมัติตามความต้องการของพืช
  • วัดความเขียวของใบด้วยเครื่องวัดปริมาณคลอโรฟิลล์ (SPAD) เพื่อการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

60 – 360 วัน หลังจากการปลูก

  • สำรวจโรคพืชและแมลง อย่าสม่ำเสมอเพื่อทราบสถานการณ์การเข้าทำลาย
  • ประเมินการเจริญเติบโตของพืช  และการเกิดโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ด้วยภาพถ่ายจากคนและจากอากาศยานไร้คนขับ (UAV)
  • บันทึกการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยเซ็นเซอร์ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการจัดการแปลง

การเก็บเกี่ยว

  • เก็บเกี่ยวด้วยเครื่องขุดมันสำปะหลังตราช้าง CDC80  สามารถทดแทนแรงงาน ลดต้นทุน และลดการสูญเสียผลผลิต
เครื่องขุดมันสำปะหลังตราช้าง CDC80

บทความที่เกี่ยวข้อง

หลายท่านคงมีข้อสงสัยกับคำถามนี้ อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่ 1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย 2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต
ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโต และการแตกกอของข้าว เป็นองค์ประกอบของเม็ดสีในเซลล์พืช การขาดไนโตรเจนพบได้ทั่วไป โดยเฉพาะในดินนาเนื้อหยาบ เช่น ดินทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือในดินที่ขาดการจัดการที่เหมาะสม
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบ