ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต

ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช

ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม

ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) สามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส (Nitrogenase) ในการควบคุมปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจน ที่มีอยู่ในบรรยากาศ ให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนเพื่อให้พืชใช้ในการเจริญเติบโตได้

–  ใช้กับพืชตระกูลถั่ว

–  สามารถให้ไนโตรเจนกับพืชตระกูลถั่วได้ 50 – 100%

–  ลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนได้อย่างน้อย 50 – 100%

–  ช่วยเพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อย 20%

ปุ๋ยชีวภาพอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา

ประกอบด้วยราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มีชีวิตที่สามารถสร้างเส้นใยอยู่บริเวณรอบราก แล้วเจริญเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์และภายในเซลล์รากพืช ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาจะช่วยดูดธาตุอาหารจากภายนอกราก แล้วส่งผ่านไปทางเส้นใยราเข้าไปภายในรากพืช ทำให้พืชได้รับธาตุอาหาร และเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น

–  แนะนำให้ใช้กับไม้ผล ไม้ยืนต้น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชผักบางชนิด

–  ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวรากในการดูดน้ำธาตุอาหาร และคุณภาพผลผลิต

–  ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างน้อย 25%

–  เพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อย 10%

ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต

ประกอบด้วย Penicillium pinophilum ที่ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดิน โดยการละลายอนินทรีย์ฟอสเฟต และย่อยสลายฟอสเฟต ปลดปล่อยโมโนไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน (H2PO4) และไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (HPO42 ) ซึ่งพืชสามารถใช้ในการเจริญเติบโต และสร้างผลผลิต

–  แนะนำให้ใช้กับดินกรดจัดที่มีการตรึงฟอสเฟตสูง หรือดินที่มีฟอสฟอรัสต่ำโดยใช้ร่วมกับ หินฟอสเฟต

–  ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดิน

–  ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีฟอสเฟต 10 – 25%

ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์

หรือปุ๋ยชีวภาพแบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth Promoting Rhizobacteria, PGPR) ประกอบด้วยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินบริเวณรอบรากพืช และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชได้ โดยแบคทีเรียกลุ่มนี้มีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชสร้างสารซิเดอโรฟอร์ (Siderophores) ที่ช่วยเพิ่มการนำธาตุเหล็กเข้าสู้เซลล์พืช และยังสามารถสร้างฮอร์โมนพืช (phytohormones) เช่น ฮอร์โมนกลุ่มออกซิน (auxins) ซึ่งกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ แบ่งเซลล์ และการเปลี่ยนสภาพของเซลล์

–  แนะนำให้ใช้กับข้าวโพด ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง

–  เพิ่มปริมาณราก และประสิทธิภาพการดูดใช้น้ำและปุ๋ย

–  ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 25% ของอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน

–  ช่วยเพิ่มผลผลิตได้อย่างน้อย 10%

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันนี้สยามคูโบต้า มีโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณวีนัด สำราญวงศ์ เกษตรกรดีเด่นระดับประเทศสาขาทำไร่ ที่มีการปลูกอ้อยแบบลดต้นทุน มีผลผลิตที่ดี และยังมีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งเพื่อสร้างเป็นอาชีพอย่างยั่งยืน ที่เกษตรกรรายอื่นสามารถปฏิบัติตามได้อย่างแน่นอน เกษตรกรปลูกอ้อยในพื้นที่กว่า 200 ไร่ ที่ ต.หินโคก อ.ลำปลาย
โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม (Northern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot) ลักษณะอาการ พบอาการตั้งแต่ใบแรกจนถึงใบธง แผลเป็นจุดค่อนข้างกลมสีเหลือง หรือน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดความกว้างยาวของแผลอยู่ระหว่าง 0.5 – 4.0 x 0.5 – 40.0 มม. เมื่อความชื้นสูงแผลขยายใหญ่
อ้อยแตกใบเป็นฝอยคล้ายตะไคร้ ใบอาจมีสีเขียวปกติหรือสีซีด ใบเล็กมากถ้าเป็นอ้อยปลูก จะให้ลำเล็กกว่าปกติและจำนวนลำในแต่ละกอน้อย ถ้าเป็นอ้อยตอ จะไม่ได้ลำเลย อาจรุนแรงจนต้องไถทิ้ง