ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม

ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (symbiosis) ไรโซเบียมสามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตรจีเนส (nitrogenase) ควบคุมปฏิกิริยาการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนที่มีอยู่ในบรรยากาศถึง 78 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักให้เป็นสารประกอบไนโตรเจน เพื่อให้พืชใช้ในการเจริญเติบโตได้

กระบวนการตรึงไนโตรเจน

*ปมรากถั่วที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนสูง จะมีขนาดใหญ่และติดอยู่กับรากแก้ว ภายในปมจะมีสีชมพู หรือสีแดงเข้ม*

ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมในการผลิตพืชตระกูลถั่ว

การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมร่วมกับการปลูกพืชตระกูลถั่ว สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นถั่วและทำให้ปริมาณไนโตรเจนในลำต้นถั่วเพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดถั่วได้โดยทำให้มีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้นในเมล็ด นอกจากนี้ไรโซเบียมยังมีบทบาทสำคัญในระบบเกษตรยั่งยืน

 เนื่องจากสารประกอบไนโตรเจนที่ไรโซเบียมตรึงได้จะถูกสะสมในต้นถั่ว และเมื่อไถกลบก็จะถูกย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนลงสู่ดิน ทำให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ได้นาน เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชอื่นต่อไป

วิธีการใช้ผลิตภัทฑ์ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อและเก็บรักษาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม

1. ควรเลือกใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมให้ตรงกับชนิดของถั่วที่ระบุไว้บนถุงผลิตภัทฑ์เท่านั้น

2. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมที่ยังไม่หมดอายุ ซึ่งระบุบนถุงผลิตภัณฑ์

3. เก็บผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมไว้ในที่ร่มและมีอุณหภูมิเย็น สามารถเก็บในตู้เย็นได้ ไม่ควรวางถุงผลิตภัณฑ์ตากแดด

4. ถุงผลิตภัณฑ์ที่เปิดใช้แล้วควรใช้ให้หมด หากใช้ไม่หมด ควรปิดปากถุงให้สนิทและเก็บไว้ในที่เย็นเนื่องจากเชื้อไรโซเบียมจะแห้งและตายได้ง่ายเมื่อเปิดปากถุงทิ้งไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง

บ่อกักเก็บน้ำนอกจากจะนำน้ำไปใช้ในการเกษตร หรือเลี้ยงปลาเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้แล้ว แต่ก็ยังคงมีพื้นที่บนผิวน้ำเหลืออยู่ แล้วเราจะสามารถใช้พื้นที่ผิวน้ำเหล่านั้นไปทำประโยชน์อะไรได้อีกบ้าง ?
ปลูกต้นไม้ขายคาร์บอนเครดิต วิธีการทำเกษตรแบบยั่งยืน ที่จะช่วยลดผลกระทบของภาวะโลกร้อน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโลกให้ดีขึ้น ทั้งยังสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้เกษตรกร ถ้าอยากรู้ว่าวิธีปลูกต้นไม้ขายคาร์บอนเครดิตสร้างรายได้และช่วยโลกอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้กับ KUBOTA
กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว