เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้

เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้

โดยข้อมูลจากกรมวิชาการการเกษตรระบุไว้ว่าหากปลูกแหนแดง 1 ไร่ จะได้แหนแดง 3 ตัน มีธาตุอาหารเทียบเท่าปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ก่อนจะใช้แหนแดงทดแทนปุ๋ย เรามารู้จักคุณสมบัติ และวิธีการใช้แหนแดงกันก่อนดีกว่าครับ

  แหนแดง เป็นปุ๋ยพืชสดที่ให้ธาตุอาหารสูงมาก ยิ่งกว่าพืชตระกูลถั่วที่รู้จักกันดี โดยมีสัดส่วนไนโตรเจนสูงถึง 5 %

ในขณะที่ปุ๋ยพืชสดที่ได้จากพืชตระกูลถั่วมีอยู่เพียง 2.5%

ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวทำให้สามารถใช้ปุ๋ยพืชสดจากแหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  แหนแดง เป็นพืชตระกูลเฟิน เจริญเติบโตบนผิวน้ำ เลี้ยงได้ในบ่อตื้น มีร่มรำไร หากปล่อยลงบ่อในฤดูฝนจะใช้เวลาเติบโตเต็มบ่อ 5 ตารางเมตร ในระยะเวลาเพียง 10-15 วันเท่านั้น

  การเลี้ยงแหนแดง 1 ไร่จะได้ผลผลิตมากถึง 3,000 กิโลกรัม ซึ่งแหนแดงแห้ง 1 กิโลกรัมใช้ในพื้นที่ปลูกได้  2 ตารางเมตร และที่สำคัญธาตุอาหารที่ได้จากแหนแดงแห้ง 6 กิโลกรัม เทียบเท่ากับที่ได้จากปุ๋ยยูเรียประมาณ 10-12 กิโลกรัมเลยทีเดียว

  การใช้แหนแดงสดในนาข้าว ควรหว่าน 2 ช่วง ช่วงแรกคือก่อนตีเทือก เพื่อให้แหนแดงไปเพาะขยายในท้องนา ประมาณ 20 วัน แล้วไถกลบ เมื่อแหนแดงย่อยสลายก็จะเริ่มปลดปล่อยไนโตรเจนออกมา อีกช่วงคือหว่านในนาดำหลังจากดำนาแล้ว แหนแดงจะไปขยายพันธุ์เต็มท้องนา ใช้ประโยชน์จากแหนแดงให้บังแสงแดดไม่ให้วัชพืชขึ้นตามมาได้

  หากใช้แหนแดงแห้งในการปลูกผัก ให้ใช้ในอัตราส่วน 20 กรัมต่อวัสดุเพาะ 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังใช้แหนแดงเป็นอาหารสัตว์ ทั้ง ไก่ เป็ด ปลา ได้ด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่แหนแดงจะถูกขนานนามให้เป็นเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจน ที่สามารถผลิตเองได้ในครัวเรือน ต้นทุนน้อย ได้ผลผลิตเร็วและดี นั่นเอง

  รู้จักคุณสมบัติ และวิธีใช้แหนแดงกันแบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมลองเอามาปรับใช้กับที่นาของตัวเองกันดูนะครับ จะได้ช่วยลดต้นทุนการทำเกษตรในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ครับ

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปุ๋ยชีวภาพหมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช ประกอบด้วยแบคทีเรียตระกูลไรโซเบียม (Rhizobiaceae) ที่สามารถเข้าสร้างปมรากกับพืชตระกูลถั่วได้ และเจริญอยู่ภายในปมรากแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Symbiosis) สามารถตรึงไนโตรเจนโดยใช้เอนไซม์ไนโตร
พี่ธนะ มงคลชัย เกษตรกรอินทรีย์แห่งบ้านหนองตาเรือง ต.แม่ระกา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เป็นเกษตรกรชาวนาที่ทำนามาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายแล้ว แต่ผลผลิตข้าวที่ได้กลับลดลงเรื่อยๆ ทั้งที่ตนเองก็เพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมีขึ้นทุกปี เขาจึงศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาว่าจะทำอย่างไรให้ข้าวที่ตนปลูกได้ผลผลิตมากขึ้น และลดต้นทุนในการ
มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่าง และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบน