การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation)
การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ หรือหลายจุดขึ้นอยู่กับขนาดและความต้องการของพืช การให้นํ้าแบบนี้พืชจะได้รับนํ้าสมํ่าเสมอตลอดโดยรักษาความชื้นในดินให้อยู่ในระดับความชื้นชลประทาน (Field Capacity) ตลอดเวลา
โดยทั่วไปมีหลักการและลักษณะที่สําคัญของระบบ ดังนี้
1) ให้นํ้ากับพืชเป็นจุดหรือหลายจุด
2) ส่งนํ้าไปตามท่อ แล้วปล่อยออกที่หัวจ่ายนํ้า (หัวหยด)
3) หัวจ่ายนํ้าจะวางบริเวณโคนของต้นพืช
4) หัวจ่ายนํ้าจะจ่ายนํ้าเท่าๆ กันทุกหัว โดยตัวปรับแรงดันนํ้า
5) นํ้าที่ออกจากหัวจ่ายนํ้าจะต้องผ่านการกรองตะกอนมาก่อน เพื่อป้องกันการอุดตันที่หัวหยด
6) เหมาะกับดินและพืชเกือบทุกชนิด (ไม่เหมาะกับพืชที่ปลูกแบบการหว่านเมล็ด)
7) ปรับอัตราการจ่ายนํ้าได้ ตามชนิดและขนาดของพืช
ส่วนประกอบหลักของการให้นํ้าแบบหยด
องค์ประกอบหลักๆ ของการให้นํ้าแบบหยด มีดังนี้คือ
1. เครื่องสูบนํ้าหรือถังจ่ายนํ้าในที่สูง (Water Pump) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งนํ้าให้กับระบบ นํ้าหยดและใช้ในการสร้างแรงดันที่เหมาะแก่ระบบ ในกรณีของระบบนํ้าหยดจะแตกต่างไปจากระบบสปริงเกลอร์ เนื่องจากระบบนํ้าที่ใช้แรงดันตํ่า
2. ท่อประธาน (Main Line) ท่อประธานหรือท่อเมน เป็นท่อหลักของระบบนํ้า ทําหน้าที่ส่งนํ้าไปยังพื้นที่รับประโยชน์ต่างๆโดยส่งไปยังท่อรองประทาน (Sub-Main Line) และท่อแขนง (Lateral)
3. ท่อรองประธาน (Sub-Main Line) เป็นท่อที่ต่อแยกจากท่อประธาน เพื่อแบ่งการควบคุมออกเป็นส่วนๆ มีหน้าที่คือรับนํ้าจากท่อประธาน แล้วแยกส่งนํ้าไปยังท่อแขนง (Lateral) หากระบบไม่ใหญ่ก็ไม่จําเป็นต้องมีก็ได้ ใช้เพียงท่อประธานและท่อแขนง
4. ท่อแยกจ่ายนํ้าหรือท่อแขนง (Lateral Line) ต่อจากท่อประธานหรือรองประธาน มีหน้าที่คือรับนํ้าจากท่อประธานหรือท่อรองประธานแล้วปล่อยนํ้าลงพื้นที่ส่วนต่างๆ เลือกตามปริมาณความต้องการนํ้าของพื้นแต่ละชนิด ท่อพีวีซีจะเหมาะกับความต้องการปริมาณนํ้ามาก ส่วนท่อพีอีจะเหมาะกับความต้องการปริมาณนํ้าไม่มากนัก
5. หัวจ่ายนํ้าหรือหัวหยด (Dripper or Emitter) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น Drippers Emitter Trickle ส่วนมากมักจะเรียกว่า Emitter มีหน้าที่จ่ายนํ้าและควบคุมอัตราการจ่ายนํ้า หัวจ่ายนํ้ามีหลายแบบ เช่น แบบปรับแรงดัน แบบธรรมดา แบบปรับอัตราการไหลให้มากหรือน้อยตามความต้องการโดยมีอัตราการไหล 1 – 12 ลิตรต่อชั่วโมง ที่นิยมใช้กันมากคือ 2, 4 และ8 ลิตรต่อชั่วโมง
6. เครื่องกรองตะกอนในนํ้า (Water Filter) มีหน้าที่กรองตะกอนต่างๆ ที่ติดมากับนํ้า เพื่อป้องกันการอุดตันของหัวหยด ท่อแขนง และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องกรองนํ้าถือว่าเป็นอุปกรณ์สําคัญอย่างมากในระบบนํ้าหยด เพราะประสิทธิภาพการให้นํ้าของระบบจะสูงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ชิ้นนี้ เครื่องกรองนํ้าในระบบหยดมีหลายชนิด ที่นิยมใช้กันมากได้แก่ เครื่องกรองนํ้าแบบทรายกรอง (Sand Filter) แบบแผ่นดิสก์ (Disc Filter) และแบบตะแกรง (Surface Filter)
7. อุปกรณ์ควบคุมความดัน (Pressure Regulator, PR) ทําหน้าที่ควบคุมแรงดันนํ้าภายในท่อแขนงให้คงที่และสมํ่าเสมอ ทําให้แรงดันภายในท่อไม่มากเกินกําหนด นํ้าหยดที่หัวหยดสมํ่าเสมอ ทั้งต้นท่อและปลายท่อ
8. อุปกรณ์ควบคุมและป้องกันระบบต่างๆ
- อุปกรณ์ระบายอากาศ หรือไล่ลมในท่อ (Air Release Valve)
- อุปกรณ์ป้องกันการไหลกลับของนํ้า (Check Valve
- อุปกรณ์วัดอัตราการไหลของนํ้า (Water Meter)
- ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (Electric Controllers)
- อุปกรณ์เพิ่มเติมสําหรับหัวนํ้าหยดและท่อนํ้าหยด เช่น วาล์วระบายลมปลายสายอุปกรณ์ต่อแยกหัวนํ้าหยด ห่วงแขวนท่อแขนง ปลักอุดรูท่อ เป็นต้น
การเลือกใช้ระบบการให้นํ้าแบบหยด โดยทั่วไปมีหลักการพิจารณา คือ
- แหล่งนํ้าที่มีอยู่มีปริมาณนํ้าน้อย ปริมาณไม่พอเพียงต่อการใช้ในระบบอื่นๆ
- ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อนํ้าชลประทานในราคาสูง
- มีพื้นที่เพาะปลูกอย่างจํากัดและต้องการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด เช่น การปลูกพืชในโรงเรือนฯ
- เนื้อดินเป็นดินที่ไม่สามารถ ให้นํ้าแบบทางผิวดินได้
- พื้นที่นั้นๆ มีสภาพแดดจัดและลมแรงตลอดทั้งปี ไม่เหมาะที่จะให้นํ้าแบบฉีดฝอย
- มีปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลน
ข้อดีและข้อจํากัดของการให้นํ้าแบบหยด
ข้อดี
- ประสิทธิภาพการให้นํ้าสูงกว่าแบบอื่นๆ
- ค่าใช้จ่ายในการให้นํ้าแต่ละครั้งน้อย
- สามารถให้ปุ๋ ยและสารเคมีไปพร้อมกับนํ้าได้ ทําให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย
- มีปัญหาเรื่องการระบาดของโรคและแมลงน้อยกว่าการให้นํ้าแบบอื่นๆ
- ลดปัญหาการแพร่กระจายของวัชพืชลงได้มาก
- ปัญหาลมแรงไม่เป็ นอุปสรรคต่อการให้นํ้า
- ไม่ต้องใช้ระบบส่งนํ้าขนาดใหญ่หรือเครื่องสูบนํ้าแรงดันสูง
- จัดการเป็นระบบอัตโนมัติได้ง่าย
- การสูญเสียนํ้าจากการระเหยและซึมเลยเขตรากพืชมีน้อย
ข้อจํากัด
- มักมีปัญหาเรื่องการอุดตันที่หัวจ่ายนํ้าถ้าหากนํ้านั้นมีหินปูนตะกอนในนํ้าผสมอยู่มาก
- อาจจะมีการสะสมของเกลือได้ หากมีปริมาณฝนน้อยในปีนั้นๆ