ระบบจัดการน้ำในสวนลำไยแสนไชย

คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของ “สวนแสนไชย” ผู้อยู่ในวงการลำไยมาอย่างยาวนาน ทั้งลองผิดลองถูก จนสวนแห่งนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสวนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 86 ไร่ ภายในสวนได้ปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยระยะชิด ขนาด 6X6 เมตร และปลูกลำไยพันธุ์ “อีดอ” ทั้งหมด จำนวน 3,200  ต้น มีการวางระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติครอบคลุมทั้งพื้นที่ทำให้ลดจำนวนแรงงาน ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่าย

สภาพพื้นที่ของสวนแสนไชย เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำปิง มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบ โดยแหล่งน้ำมี 2 ส่วนคือ พื้นที่สวนติดกับแม่น้ำปิงและมีการขุดบ่อบาดาลน้ำตื้นไว้ใช้ในสวนอีกด้วย

ซึ่งในอดีตการให้น้ำของสวนแสนไชย ใช้วิธีการสูบน้ำปิงเข้ามาในสวนแล้วให้คนงานใช้สายยางฉีดน้ำพ่นแบบราดบนพื้นดิน ต่อมาเปลี่ยนวิธีการให้น้ำเป็นการสูบน้ำปิงขึ้นมาที่แท้งค์ แล้วมามาน้ำเปิดตามท่อ แต่ก็ยังเสียเวลา ยังใช้แรงงานมาก และเปลืองน้ำ จึงได้เปลี่ยนมาให้น้ำแบบสปริงเกอร์และมินิสปริงเกอร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการให้น้ำดีและประหยัดน้ำมากขึ้น แต่ก็ยังต้องใช้แรงงานคนในการเปิดปิดประตูน้ำ กว่า 100 ตัว ทั่วทั้งสวนอยู่ จึงอยากลดการใช้แรงงาน โดยการนําเครื่อง Timer เข้ามาใช้ในระบบการให้น้ำ

คุณนิโรจน์ ได้ไว้วางแผนการจัดการน้ำในสวนลำไยแยกโซน ออกเป็น 5 โซนด้วยกัน โดยกําหนดเวลาบน Timer และเมื่อถึงเวลา Timer ที่เชื่อมต่อกับ เริ่มจากใช้ปั๊มหอยโขง ขนาด 4 นิ้ว 4 แรงม้า ทั้งหมด 3 ตัว จะทําการสูบน้ำจากแม่น้ำปิงต่อกับท่อเมนจํานวน 4 ท่อ ขนาด 4 นิ้ว มี 4 ประตูน้ำ ซึ่งแต่ละท่อเมนหลักจะมีท่อย่อยขนาน 2-3 นิ้ว เชื่อมต่ออีก 10-20 ท่อ เมื่อน้ำผ่านประตูน้ำแล้วจะถูกส่งไปยังท่อย่อย 

ซึ่งแต่ละท่อย่อยจะเชื่อมต่อกับมินิสปริงเกอร์บริเวณทรงพุ่ม จะให้น้ำลำไยแต่ละต้นประมาณ 150 ลิตร/วัน/ต้น ซึ่งทั้ง 86ไร่ จะใช้เวลาการให้น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วแต่ความต้องการน้ำในแต่ละโซน ซึ่งลดจํานวนแรงงานลงและประหยัดเวลาในการทำงาน ส่วนในอนาคตกำลังจะติดตั้งแผงโซลาเซลล์ขนาด 8 นิ้ว เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าลง ลดต้นทุนการผลิตและประหยัดค่าใช้จ่าย ฃ

แบบการวางแผนระบบน้ำในสวนลำไย

สุดท้ายคุณนิโรจน์ กล่าวว่า “ความสำเร็จของสวนแสนไชย คือ การที่เราต้องอยากได้สิ่งที่ดีกว่า อย่าไปคิดว่าสิ่งที่ตัวเองมีมันดีแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ต้องมีสิ่งที่ดีกว่าเสมอ เราต้องปรับตัว พร้อมที่จะเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในสวนลำไยของตัวเอง”  

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันโดรนการเกษตรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างแพร่พลาย เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการดูแลรักษาพืชได้อีกด้วย การใช้โดรนในการดูแลรักษาพืชนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค แมลง และให้อาหารเสริมทางใบแก่พืช โดยนิยมใช้กับพืชหลักเศรษฐกิจ เช่น ข้าว
การเริ่มต้นปลูกมะเขือเทศนั้นไม่ยากอย่างที่ทุกท่านคิด เพียงแค่เริ่มต้นอย่างถูกวิธีก็จะได้ต้นมะเขือเทศพร้อมสำหรับการให้ผลผลิต ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือ “การเพาะต้นกล้า” แต่ก่อนการเริ่มเพาะต้นกล้านั้นควรทำ “การบ่มเมล็ด” เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการงอกของเมล็ดนั่นเอง โดยมี
ศูนย์การเรียนรู้อีกแห่งที่เราอยากแนะนำก็คือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าว) ซึ่งอยู่ใกล้แค่จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ที่นี่ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เกษตรกรทั่วไปรวมถึง