โดรนเพื่อการเกษตร

ปัจจุบันแรงงานคนในภาคการเกษตรไทยนั้นมีจำนวนน้อยลง และประสิทธิภาพจากการทำงานของแรงงานคนต่ำลง จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับภาคการเกษตรในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต และยังช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย

โดยเทคโนโลยีสมัยใหม่อีกหนึ่งชนิดที่จะทำการแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก คือ โดรนการเกษตร ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำมาใช้ประโยชน์กับภาคการเกษตรมากมาย เช่น พ่นปุ๋ย และธาตุอาหารเสริม , วางแผนการเพาะปลูกและถ่ายภาพแปลงเพาะปลูกเพื่อสังเกตการเจริญเติบโตและอาการผิดปกติของพืชดังนั้นเรามาดูกันว่าก่อนการใช้งานโดรนต้องทำอย่างไรบ้าง

1.  การวางแผนและการเตรียมตัวก่อนการบินเป็นอย่างดี จะทำให้บินได้อย่างปลอดภัย และประหยัดแบตเตอรี่ โดยควรคำนึงตามปัจจัยต่างๆดังนี้

  • ศึกษาข้อบังคับเกี่ยวกับโดรนและกฎหมายในท้องถิ่น
  • บินในระยะที่สายตามองเห็นบินในระยะการรับสัญญาณ
  • ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนบิน
  • บินในสภาพแสงที่มากพอ
  • เมื่อใบพัดเสียหายให้เปลี่ยนทันที
  • บินในบริเวณที่เหมาะสมในการบิน

2.  การเตรียมความพร้อม
การตรวจเช็คและการชาร์จแบตเตอรี่

การประกอบและตรวจเช็กใบพัด

ข้อควรระวัง:

  1. หากไม่กางใบพัดออกก่อน อาจทำให้แกนของมอเตอร์สียหายได้
  2. หากประกอบผิดจะทำให้โดรนเสียการทรงตัวเมื่อทำการบิน

–  การประกอบแบตเตอรรี่รีโมท การเปิดใช้งานรีโมท และการเชื่อมสัญญาณ

นอกจากการวางแผนและการเตรียมตัวก่อนการใช้งานแล้วเรามาดูฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆของ  โดรนว่ามีอะไรบ้าง

ฟังก์ชั่นการทำงานของโดรน
Plan Field คือการกำหนดพื้นที่บิน มีทั้งหมด 3 โหมด

โดรนการเกษตรนั้นเป็นอีกหนึ่งเครื่องมีอที่มีประโยชน์สำหรับภาคการเกษตรในปัจจุบัน และเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามองอย่างเห็นได้ชัด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราจะพาทุกคนร่วมเดินทางไปเรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ ไร่รื่นรมย์ ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา มีการทำเกษตรอินทรีย์ทั่วพื้นที่ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับชุมชนด้วยความเข้าใจ เติบโตไปกับชุมชน ผ่านการออกแบบพื้นที่ พัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรต่างๆ มากมาย หัวใจของการทำเกษตร
การให้นํ้าแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation) การให้นํ้าแบบหยด นับเป็นวิธีการให้นํ้าที่คิดค้นขึ้นมาหลังการให้นํ้าแบบอื่นๆ และกําลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งในเขตแห้งแล้งและเขตที่มีลักษณะดินเป็นดินทราย เพราะระบบการให้นํ้าแบบนี้มีการสูญเสียนํ้าน้อยมาก วิธีการให้นํ้าแบบหยดเป็นการให้นํ้าแก่พืชเป็นจุดๆ
เมลอน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูกเมลอน ทำให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้น การปลูกเมลอน จึงต้องดูแลอย่างละเอียดตลอดฤดูการปลูก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่นๆ ความสำคัญในการรู้จักโรคและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่