ราชามะเขือเทศ

ปัจจุบันเทคโนโลยีโรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Green House) ได้เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรไทยมากขึ้น เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ และยังลดความเสี่ยงการเกิดโรคและแมลงซี่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหาย

วันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับเจ้าของสวนราชามะเขือเทศ ( วิสาหกิจชุมชนสวนกล้วยอู่ทอง ) คุณชาตรี รักธรรม(พี่อ้อม) บ้านเลขที่ 11 หมู่ 14 ต. จรเข้สามพัน อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี ที่มีประสบการณ์การปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนมามากกว่า 4  ปี  และมีโรงเรือนทั้งหมด 36 หลัง บนเนื้อที่กว่า 50 ไร่ โดยสามารถผลิตมะเขือเทศเฉลี่ย 4-5 กิโลกรัมต่อต้น ซึ่งเคล็ดลับที่สำคัญขึ้นอยู่กับ 5 ปัจจัย ดังนี้

  • ดิน (ธาตุอาหาร)
  • น้ำ
  • ชนิด และสายพันธุ์ของพืช
  • อุณหภูมิ/แสง
  • ลดสภาวะความเสี่ยง (ภูมิคุ้มกันในการปลูกพืช)

นอกจาก 5 ปัจจัยนี้แล้ว พี่อ้อมยังได้บอกอีกว่าการเลือกรูปแบบโรงเรือนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและอุณหภูมิในประเทศไทยนั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ ซึ่งพี่อ้อมใช้ระยะเวลา 4 ปีในการศึกษารูปแบบโรงเรือนทั้ง 4 รูปแบบ จนได้รูปแบบที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด เรามาดูกันว่าโรงเรือนรูปแบบไหนเหมาะกับสภาพอากาศและอุณหภูมิอย่างไรกันบ้าง

เมื่อเราสามารถเลือกรูปแบบโรงเรือนที่เหมาะสมได้แล้ว หลังจากนี้เรามาดูเทคนิคและขั้นตอนต่างๆในการปลูกและดูแลมะเขือเทศในโรงเรือนตามฉบับสวนราชามะเขือเทศกันเลย

ขั้นตอนการปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนฉบับราชามะเขือเทศ

  นอกจากเทคนิคตามปฏิทินการเพาะปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนแล้ว พี่อ้อมยังกล่าวถึงเทคนิคการใส่ปุ๋ยให้พืชในแต่ละช่วง ดังนี้

  ระยะย้ายกล้า เน้นการให้ปุ๋ย สูตร N(ไนโตรเจน) และ สูตร P(ฟอสฟอรัส)

  ระยะออกดอก เน้นการให้ปุ๋ยสูตร P(ฟอสฟอรัส) และ สูตร K(โพแทสเซียม)

  ระยะเก็บเกี่ยว เน้นการให้ปุ๋ยสูตร N(ไนโตรเจน)  สูตร P(ฟอสฟอรัส)  และ สูตร K(โพแทสเซียม)

โดยการให้ปุ๋ยเคมีควรให้ในปริมาณที่น้อย แต่ให้บ่อยครั้ง เพื่อให้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยมากที่สุด นอกจากนั้นทางสวนราชามะเขือเทศยังผลิตปุ๋ยจากมูลไส้เดือนใช้เองอีกด้วยซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการผลิต และปุ๋ยมูลไส้เดือนสามารถเพิ่มธาตุอาหารในดินให้สมบูรณ์ได้ โดยส่วนผสมของปุ๋ยมูลไส้เดือน คือ

1.  ปุ๋ยหมัก (ผลิตเอง)

2.  มูลวัวตากแห้ง

3.  เชื้อเห็ดฟางเก่า

4.  รำข้าว

5.  ไส้เดือนสายพันธุ์แอฟริกา 

นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างเกษตรกร ที่สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อปรับเปลี่ยนมาเพาะปลูกในโรงเรือนและได้นำวิธีการปลูกพืชแบบผสมผสานมาใช้ ทำให้มีรายได้เข้ามาทุกวัน เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตทุกฤดูกาล 

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเริ่มต้นปลูกมะเขือเทศนั้นไม่ยากอย่างที่ทุกท่านคิด เพียงแค่เริ่มต้นอย่างถูกวิธีก็จะได้ต้นมะเขือเทศพร้อมสำหรับการให้ผลผลิต ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือ “การเพาะต้นกล้า” แต่ก่อนการเริ่มเพาะต้นกล้านั้นควรทำ “การบ่มเมล็ด” เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการงอกของเมล็ดนั่นเอง โดยมี
ปัจจุบันแหล่งพลังงานทดแทนที่นิยมนำมาใช้ได้ในการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้แก่ พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพื่อการชลประทานในพื้นที่ปลูกอ้อย ซึ่งเป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบตามลักษณะกระแส
โรงเรือนอีแว๊ป (Evap) ย่อมาจาก Evaporative cooling system ช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเหมาะสำหรับการปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้สามารถออกผลได้ตลอดทั้งปี สะดวกในการดูแล สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก รวมถึงลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายจากแมลงและฝน