หนอนชอนใบ…ศัตรูร้ายของเมล่อน

ถ้าหากเกษตรกรเลือกทำการเพาะปลูกเมล่อนในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำ ให้เฝ้าระวังการระบาดของแมลงศัตรูพืชที่มีชื่อว่า “ หนอนชอนใบ ” ซึ่งเป็นศัตรูร้ายที่สร้างความเสียหายให้กับเมล่อนได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต

โดยลักษณะอาการเบื้องต้นที่สามารถพบเห็นได้ คือพบรอยเส้นสีขาวคดเคี้ยวไปมา ซึ่งเกิดจากตัวหนอนชอนไชอยู่ในใบพืช เมื่อนำใบพืชมาทำการส่องดูจะพบหนอนตัวเล็กๆ สีเหลืองอ่อนโปร่งใส่ อยู่ภายในเนื้อเยื่อพืช หากผู้ปลูกทำการป้องกันและควบคุมได้ไม่ทันเวลาจะส่งผลให้ใบเสียหายร่วงหล่น และส่งผลให้ผลผลิตของเมล่อนลดลง

ลักษณะการเข้าทำลายของหนอนชอนใบ

 สำหรับการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดนี้นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่แนะนำคือการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated pest management , IPM) เป็นการใช้วิธีในการควบคุมแมลงศัตรูพืชหลายวิธีร่วมกัน เช่น

          วิธีเขตกรรม (Culture Control) และวิธีกายภาพ (Physical Control)  คือ การตัดแต่งกิ่งหรือใบ ที่ถูกหนอนชอนใบทำลายรุนแรง และเผาทำลายเศษใบพืชที่ถูกทำลายทันที เนื่องจากดักแด้ที่อยู่ตามเศษใบไม้จะถูกทำลายไปด้วย และสามารถช่วยลดการแพร่ระบาดได้

          ชีววิธี (Biological Control)คือ ใช้จุลินทรีย์แบคทีเรียบีที (Bacillus thuringiensis)หรือเชื้อราเมตาไรเซียม ในการป้องกันกำจัด แต่ที่สำคัญสำหรับการใช้จุลินทรีย์และชีวภัณฑ์ ต้องให้ความชื้นกับพืชก่อนทุกครั้ง และหลักในการฉีดพ่นจุลินทรีย์และชีวภัณฑ์ คือ “ ช่วงที่แดดร่มลมตก ”  (เวลาบ่าย 2 โมงแต่ไม่ควรเกิน 4 โมงเย็น) 

และวิธีสุดท้ายที่แนะนำ คือ การใช้สารเคมี โดยใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% อีซี หรือฟิโพรนิล 5% เอสซี หรือไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี โดยใช้ในอัตราที่ฉลากระบุอย่างเคร่งครัด

ซึ่งวิธีป้องกันและกำจัดที่กล่าวมาข้างต้น ควรเลือกวิธีการต่างๆ ให้ถูกต้อง ถูกเวลา เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่ เพื่อลดปริมาณศัตรูพืชในพื้นที่นั้น ลดความเสี่ยงต่อคน และรบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

หลังจากทำการผสมเกสรเมล่อนเสร็จแล้ว ผลเมล่อนจะค่อยๆขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาที่พบมากสำหรับการปลูกเมล่อนในช่วงฤดูฝนประการที่สำคัญคือ ปัญหาผลแตกระหว่างการเลี้ยงลูกให้โต เนื่องจากในฤดูฝนมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นในอากาศ ความชื้นในวัสดุปลูก และความชื้นจากการให้น้ำกับต้นเมล่อน สาเหตุที่ผลเมล่อนมัก
ปัจจุบันใครจะคิดว่าการทำเกษตรในเมืองกรุงนั้น จะสามารถสร้างรายได้หลักแสน ด้วยต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทต่อเดือน วันนี้เรามาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ “พี่โบ้-วีระ สรแสดง”อดีตออแกไนซ์ที่สามารถเนรมิตพื้นที่ 9 ไร่ในย่านมีนบุรีให้เป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวในเมืองกรุงที่มีชื่อขนานนามว่า “Res-q-farm” พี่โบ้ ได้
จากสถานการณ์น้ำแล้ง ดร.โอภาส ตรีทวีศักดิ์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์จึงได้มีแนวคิดพัฒนาเครื่องวัดความชื้นดินขึ้น เพื่อใช้ตรวจวัดความชื้นของดินเพื่อประเมินปริมาณการให้น้ำพืชได้อย่างเหมาะสม ตามความต้องการของพืชได้อย่างแม่นยำ พืชต้องการน้ำแต่ละช่วงการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน พืชแต่ละชนิด