ระวังด้วงเต่าแตงแดง ศัตรูพืชในของเมล่อน

สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกเมล่อน ในช่วงอากาศร้อนในตอนกลางวัน สลับกับมีฝนตก ให้รีบสังเกตเมล่อนในแปลงว่าพบการเข้าทำลายของด้วงเต่าแตงแดงหรือไม ถึงแม้จะชื่อเรียกว่าด้วงเต่า แต่รูปร่างนั้นเป็นทรงกระบอก มีหนาวยาว ปีกคู่แรกแข็งเป็นมันสีแดงแสด ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชสร้างความเสียหายให้กับเมล่อนที่เราสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต 

ด้วงเต่าแตงแดง จัดเป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่ง เริ่มแรกจะพบตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ในดินใกล้โคนต้นเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ตัวหนอนสีขาวจะอาศัยอยู่ในดิน และกัดกินรากพืชเป็นอาหาร ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อราก เมล่อนในระยะต้นอ่อน เมื่อตัวเต็มวัยด้วงเต่าแดง จะกัดกินใบยอดและดอกของพืช โดยกัดใบให้เป็นวงก่อน จากนั้นจึงกินส่วนที่อยู่ในวงจนหมดเกิดเป็นรูๆตามใบ หากระบาดรุนแรงอาจทำให้ต้นพืชชะงักการทอดยอด เราจะพบการระบาดแทบทุกฤดูกาล โดยเฉพาะในช่วงที่แตงเริ่มแตกใบจริง

กรณีพบการเข้าทำลายของด้วงเต่าแตงแดงเราสามารถป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดนี้ได้หลายวิธี 

1. เกษตรกรควรหมั่นสำรวจตรวจดูสวนในเวลาเช้าที่แดดยังไม่จัด โดยให้ใช้วิธีกลในการจับตัวด้วงเต่าแตงแดงมาทำลายด้วยมือ จะสามารถช่วยลดการระบาดลงได้มาก 

2. ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรถอนทำลายต้นทิ้ง เก็บเศษซากพืชในส่วนที่หลงเหลือ และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อทำลายแหล่งอาศัย และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของด้วงเต่าแตงแดงต่อไป

3. ใช้เชื้อราเมธาไรเซียม ฉีดพ่นเพื่อกำจัดตัวหนอน ทั้งพื้นดินและบนต้นเมล่อน

– สภาพอากาศแห้ง ควรทำการกระตุ้นเชื้อก่อนฉีดพ่นโดยนำเชื้อ 50-100 กรัม ผสมกับน้ำ 1 ลิตร พักไว้ 4 ชั่วโมงหลังจากนั้นเติมน้ำอีก 20 ลิตร เติมสารจับใบ แล้วนำไปฉีดพ่นทุก 7-10 วัน

– สภาพอากาศชื้น โดยนำเชื้อ 50-100 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร เติมสารจับใบ แล้วฉีดพ่นทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นให้ถูกตัวหรือบริเวณที่ด้วงเต่าแตงแดงอาศัยอยู่ ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น เพราะสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราเมธาไรเซียมนั้นเอง

4. วิธีสุดท้ายที่แนะนำ คือ การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดด้วงเต่าแตงแดงโดยให้พ่นด้วยสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร 

ในวิธีต่างๆที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ถ้าเกษตรกรเลือกใช้ได้ ถูกวิธี และใช้ตามอัตราที่แนะนำ และใช้ในเวลาที่เหมาะสม ก็จะสามารถป้องกันและกำจัดด้วงเต่าแตงแดง ไม่ให้มากวนใจเราได้อีก

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปรับระดับดินนา โดยเครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ (Laser land leveling) เครื่องจักรกลปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีการพัฒนามาแล้วกว่า 30 ปี ในการปรับระดับดิน เพื่อการจัดการน้ำให้กระจายทั่วถึงทั้งแปลงและระบายออก โดยเครื่องมือในการปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์ มีองค์ประกอบหลัก คือ
แม้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลย่อมเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืชมากมายหลายชนิด แต่เมื่อมีข้อดีก็มักจะต้องมีข้อเสียควบคู่กันไป อย่างเช่นในปัจจุบันประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกรในการเพาะปลูกพืช แต่ไม่เป็นผลดีแน่หากเกษตรกรเลือกทาการเพาะปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา
ปัจจุบันโดรนการเกษตรเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างแพร่พลาย เนื่องจากสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านแรงงานและช่วยประหยัดเวลาในขั้นตอนการดูแลรักษาพืชได้อีกด้วย การใช้โดรนในการดูแลรักษาพืชนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเป็นการพ่นสารป้องกันกำจัดโรค แมลง และให้อาหารเสริมทางใบแก่พืช โดยนิยมใช้กับพืชหลักเศรษฐกิจ เช่น ข้าว