สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเพาะเมล็ดเมล่อน

การเพาะเมล็ด เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อการเพาะปลูกเมล่อนเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ทำให้ต้นกล้ามีความแข็งแรงเมื่อย้ายลงแปลงปลูกต้นกล้าจะสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วซึ่งก่อนการเพาะเมล็ดนั้นต้องทำ “ การบ่มเมล็ด ” เพื่อกระตุ้นการงอกของเมล็ดและเพื่อให้ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1.เมล็ดพันธุ์เมล่อนที่เลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ(ตรวจสอบวันหมดอายุ และสภาพซองบรรจุไม่ฉีกขาด) นำมาแช่ในน้ำอุ่น โดยใหทุกส่วนของเมล็ดถูกน้ำ แช่นาน 4 – 6 ชั่วโมง

2.นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้ววางเรียง บนผ้าสะอาดขนนุ่ม หรือกระดาษทิชชู ที่ชุบน้ำสะอาดจนชุ่มแล้วทำการมัด หรือห่อให้มิดชิด 

3.หลังจากนั้นนำไปใส่ในกล่องพลาสติกที่ปิดสนิทได้ เก็บไว้ในสถานที่ทึบแสง ที่อุณหภูมิ 28 – 30 องศาเซลเซียส  เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (1 คืน) เมื่อรากเริ่มงอกประมาณ 1-2 มิลลิเมตร สามารถทำ “ การเพาะเมล็ด ” ได้ทันที ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในการเพาะเมล็ดประกอบด้วย

โดยมีรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

1.เช็คความชื้นวัสดุเพาะโดยใช้มือกำ สังเกตุวัสดุเพาะจะจับตัวเป็นก้อนแต่น้ำไม่ไหลออกมา หากความชื้นน้อยเกินไป วัสดุจะไม่จับตัวกันให้นำน้ำสะอาดเติมลงไป คลุกเคล้าให้ทั่วจนได้ความชื้นที่เหมาะสม โดยวัสดุที่นิยมใช้ ได้แก่ พีชมอส เพราะมีสารอาหารครบถ้วน ปลอดจากโรค และแมลงศัตรูพืช

2.บรรจุวัสดุเพาะ ลงในถาดเพาะกล้าขนาด 60 – 104 หลุม โดยไม่ต้องกดวัสดุเพาะให้แน่นจนเกินไป

3.นำเมล็ดที่ทำการบ่มแล้ว หยอดลงในถาดเพาะโดยวางให้เมล็ดอยู่ในแนวนอน และปลายรากแทงลงวัสดุเพาะ ระวังอย่าให้รากอ่อนของเมล็ดหักหรือแห้ง

4.กลบด้วยวัสดุเพาะกล้าบางๆ พอปิดเมล็ด

5.รดน้ำให้ชุ่มโดยการสเปย์พ่น นำไปเก็บในโรงเรือนเพาะกล้า หรือบริเวณที่มีแสงแดดส่องผ่านตลอดวัน และหลังจากนั้นทำการรดน้ำวันละ 3 เวลาทุกวัน หรือมากกว่านี้หากแสงแดดจัดโดยสังเกตุวัสดุเพาะให้มีความชื้นสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน จนอายุกล้าได้ประมาณ 10-12 วัน หรือเมื่อมีใบแท้ 2 ใบ จึงสามารถทำการย้ายปลูกได้

 โดยข้อสำคัญที่พึงปฏิบัติในก่อนการย้ายปลูก คือ “ ควรงดการให้น้ำเป็นเวลา 12 – 24 ชั่วโมงก่อนการย้ายปลูก เพื่อให้รากเมล่อนยึดจับกันแน่นกับวัสดุเพาะ และต้นอ่อนมีความแข็งแรง ” นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

คุณนิโรจน์ แสนไชย เจ้าของ “สวนแสนไชย” ผู้อยู่ในวงการลำไยมาอย่างยาวนาน ทั้งลองผิดลองถูก จนสวนแห่งนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยสวนแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน มีพื้นที่ปลูกลำไยกว่า 86 ไร่ ภายในสวนได้ปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยระยะชิด ขนาด 6X6 เมตร และปลูกลำไยพันธุ์ “อีดอ”
เมล่อน เป็นพืชที่มีความอ่อนแอต่อศัตรูพืช ทั้งโรคและแมลง มีโรคหลายชนิดที่พบทั่วไปในการปลูก เมล่อน ทาให้ผลผลิตเสียหาย ไม่ได้คุณภาพผลตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นการปลูกเมล่อนจึงต้องดูแลละเอียด ตลอดฤดูปลูก ทาให้มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพืชอื่น เราจึงต้องให้ความสาคัญในการรู้จักโรคและการป้องกันกาจัดโรคที่
เราจะพาทุกคนร่วมเดินทางไปเรียนรู้การทำเกษตรแบบอินทรีย์ ณ ไร่รื่นรมย์ ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พื้นที่ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา มีการทำเกษตรอินทรีย์ทั่วพื้นที่ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับชุมชนด้วยความเข้าใจ เติบโตไปกับชุมชน ผ่านการออกแบบพื้นที่ พัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรต่างๆ มากมาย หัวใจของการทำเกษตร