เตรียมรับมือลูกเมล่อนแตก ในหน้าฝน

หลังจากทำการผสมเกสรเมล่อนเสร็จแล้ว ผลเมล่อนจะค่อยๆขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาที่พบมากสำหรับการปลูกเมล่อนในช่วงฤดูฝนประการที่สำคัญคือ ปัญหาผลแตกระหว่างการเลี้ยงลูกให้โต เนื่องจากในฤดูฝนมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นในอากาศ ความชื้นในวัสดุปลูก และความชื้นจากการให้น้ำกับต้นเมล่อน

สาเหตุที่ผลเมล่อนมักจะแตกในฤดูฝน เกิดจากความชื้นจากแหล่งต่างๆ เป็นตัวแปรที่สำคัญและมีส่วนอย่างมาก เนื่องจากความชื้นที่เกิดทางดิน ทางอากาศ ต้นเมล่อนจะดูดซับความชื้นอยู่ตลอดเวลา และความชื้น  ที่ถูกดูดซับนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำส่งไปที่ต้นและผล เมื่อผลเมล่อนได้รับน้ำเป็นจำนวนมากจึงส่งผลให้เมล่อนของเราเกิดการที่เรียกว่า Frame น้ำมากเกินไป และส่งความชื้นกระทบมาที่เปลือกเมล่อนดันจนเปลือกเมล่อนปริแตกออกจากกัน

ดังนั้นเราควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกและหมั่นสังเกตอาการในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้นสูง ว่ามีน้ำไหลออกจากกระถางปลูกมากหรือไม่ เพราะนั่นคือสัญญาณเตือนว่าน้ำที่ให้เกินความต้องการของเมล่อน ถ้าผลเมล่อนที่ได้รับน้ำมากจนเกินไปจะเริ่มมีอาการปริแตกของผล  ให้รีบดำเนินการป้องกันก่อนที่ลูกจะแตกเป็นแผลใหญ่ โดยควรลดปริมาณการให้น้ำลงทันที และให้สังเกตว่า รอยแตกดังกล่าวไม่ขยายใหญ่เพิ่มมากกว่าเดิมหรือไม่มีผลอื่นปริแตกเพิ่ม ถือว่าปริมาณน้ำที่ลดลงถูกต้อง  และหากสภาพความชื้นจากฤดูฝนลดลงก็สามารถกลับไปใช้ปริมาณน้ำในจำนวนปกติได้ เพียงเท่านี้ผลเมล่อนของเราก็ผ่านฤดูฝนไปได้แล้ว

ปัญหาลูกแตกที่ส่วนใหญ่มาจากการให้น้ำเกินอัตราและสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ยังมีปัญหาอื่นๆอีกที่สามารถทำให้ลูกเมล่อนของเราแตกได้ คือ

1. การฉีดพ่นธาตุ K สูงๆ หรือใช้สัดส่วนปุ๋ย 13-0-46 เพียวๆ จะทำให้ลูกแตก โดยควรให้ปุ๋ยที่มี NPK ครบทั้ง 3 ตัว เช่น สัดส่วน 2-1-3, 3-1-4 และ 4-1-5 

2. เมล่อนได้รับธาตุอาหารแคลเซียมโบรอนไม่เพียงพอ เพราะแคลเซียมมีหน้าที่สร้างเซลล์ผิวให้แข็งแรง เวลาลูกขยายตัวเซลล์ก็จะแข็งแรงตาม โบรอนช่วยให้ลูกสมบูรณ์ไม่บิด เซลล์สมบูรณ์มีการยืดหยุนของผิวได้ดีขึ้น โดยให้ในอัตรา 1-2 ซีซีต่อน้ำ 1 ลิตร รวมกับสารจับใบที่มีประสิทธิภาพ พ่นทุกๆ 5-7 วัน ตั้งแต่เริ่มย้ายปลูกจนครบอายุช่วงก่อนจะทำหวาน

ดังนั้น การจัดการเมล่อน ต้องมีความละเอียด และต้องใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่       มีคุณภาพ  จึงต้องเริ่มตั้งแต่การดูแลให้ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงตั้งแต่วันแรกที่เพาะเมล็ด สำรวจแปลงปลูกเป็นประจำ สังเกตอาการของใบและผลเมล่อนทุกต้น เพื่อเราจะได้รีบดำเนินการป้องกันก่อนที่ลูกเมล่อนจะแตก ถ้าเราเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ทันการจะทําให้ผลเมล่อนแตกในหน้าฝนลดลง หรืออาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์การเรียนรู้อีกแห่งที่เราอยากแนะนำก็คือ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ข้าว) ซึ่งอยู่ใกล้แค่จังหวัดสุพรรณบุรีนี่เอง ที่เกิดจากความตั้งใจของคุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ ที่นี่ได้เปิดพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรผสมผสานตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้แก่เกษตรกรทั่วไปรวมถึง
เมื่อ “เมล่อน” เข้าสู่ระยะติดผล มักจะเกิดอาการชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ผลแตก” ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของเกษตรได้ภายในเวลาเพียงข้ามคืนเลยทีเดียว แล้วทุกท่านสงสัยไหมว่า ผลแตกนั้นเกิดจากสาเหตุใด? วันนี้เราได้หาคำตอบมาให้กับผู้อ่านทุกท่านแล้ว โดยปัจจัยหลักคือ การควบคุมปริมาณ
ปัจจุบันใครจะคิดว่าการทำเกษตรในเมืองกรุงนั้น จะสามารถสร้างรายได้หลักแสน ด้วยต้นทุนค่าไฟเพียง 0 บาทต่อเดือน วันนี้เรามาแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ “พี่โบ้-วีระ สรแสดง”อดีตออแกไนซ์ที่สามารถเนรมิตพื้นที่ 9 ไร่ในย่านมีนบุรีให้เป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยวในเมืองกรุงที่มีชื่อขนานนามว่า “Res-q-farm” พี่โบ้ ได้