รู้ทันโรคก้นผลเน่าของมะเขือเทศ

มะเขือเทศเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในโรงเรือน เป็นพืชประเภทผลเบอรี่ มีผิวเปลือกบาง ไม่สามารถแยกออกจากเนื้อผลได้ แม้ว่าช่วงนี้เราจะไม่พบโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชของมะเขือเทศในโรงเรือน แต่ในช่วงที่ผลมะเขือเทศกําลังขยายตัว และระยะเก็บเกี่ยว มักจะพบว่าผลมะเขือเทศมีอาการก้นผลเน่า  ทําให้ผลผลิตเสียหายจํานวนมาก ยิ่งมีเชื้อราเข้าไปทำลายซ้ำให้ผลเน่า ได้แต่คัดทิ้ง เพราะไม่มีใครรับซื้อ

นอกจากที่เกษตรกรจะใช้พันธุ์มะเขือเทศที่ดีแล้ว สิ่งสำคัญที่เกษตรกรละเลยไม่ได้เลย คือ ธาตุอาหาร ซึ่งธาตุอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ที่เรารู้จักกันดีในรูปของปุ๋ย พืชจะมีความต้องการธาตุอาหารทั้งชนิดและปริมาณที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและอายุของพืช ธาตุอาหารแต่ละธาตุจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกับการเจริญเติบโตของพืช โดยธาตุแต่ละชนิดจะมีบทบาทจำเพาะเจาะจงไม่สามารถทดแทนได้ด้วยธาตุอื่น ตลอดจนมีผลต่อกระบวนการเมตาบอลอซึมของพืชที่จำเพาะเจาะจงแตกต่างกัน ดังนั้นหากพืชได้รับปริมาณธาตุอาหารไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง เราเรียกว่า อาการผิดปกติจากการได้รับธาตุไม่สมดุล อย่าคิดว่าใส่ปุ๋ย N-P-K  ให้พอเพียงแล้วจะได้ผลผลิตดีเสมอไป

โรคก้นผลเน่าของมะเขือเทศ (blossom-end rot of tomato) สาเหตุ เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียม (Ca) หรือความไม่สมดุลของธาตุแคลเซียมในดิน โดยธาตุแคลเซียมจะมีความสมดุลกับธาตุโบรอนและธาตุแมกนีเซียมในพืช ถ้าไม่มีความสมดุลระหว่างธาตุทั้ง 3 ชนิด พืชจะแสดงอาการผิดปกติ ธาตุแคลเซียมจะเปลี่ยนรูปทำให้พืชมาสมารถดูดไปใช้ได้ โดยมะเขือเทศจะเริ่มมีอาการเป็นจุดช้ำน้ำ สีเขียวอ่อนหรือ สีน้ำตาลอ่อนบริเวณก้นของผล ต่อมาแผลจะยุบตัวลงและขยายบริเวณออกโดยรอบอย่งรวดเร็ว ลักษณะแผลจะเหี่ยวแห้งและยุบตัวลงเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เนื่องจากเซลล์ตาย อาการก้นเน่ามักมีเชื้อราเข้ามาทำลายซ้ำเติมอีกด้วย ดังนั้นธาตุอาหารที่มะเขือเทศจะขาดไม่ได้ก็คือ แคลเซียม

หน้าที่ของแคลเซียมต่อผลผลิต แคลเซียมที่พืชดูดเข้าไปใช้จะไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างผนังเซลล์ เสริมสร้างให้ผนังเซลล์แข็งแรง มีความทนทาน สามารถรับแรงดันน้ำภายในลําต้นพืชได้ดี หากต้นพืชมีเซลล์ที่ แข็งแรงก็สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้อย่างแน่นอน 

บางคนอาจเริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าเราควรใส่ปุ๋ยแคลเซียมอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้ว โดยปกติในดินจะมีแคลเซียมอยู่แล้วปริมาณหนึ่ง แต่บางทีรากพืชไม่สามารถดูดกินได้ และช่วงสภาพที่ฝนตกหนัก ความชื้นในอากาศสูง ยิ่งทําให้พืชไม่สามารถดูดใช้แคลเซียมได้ และทําให้ผลผลิตเสียหายจํานวนมาก วิธีการที่จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้ต้นพืชได้คือ

1. การปรับปรุงดินให้มีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่ 5.5-6.8 

  • หากดินเป็นกรด ควรใส่ปูนปรับปรุงดินเป็นประจําทุกปี เช่น ปูนขาว โดโลไมท์ 
  • หากดินเป็นด่าง ควรใส่ปุ๋ยที่ส่งผลเป็นกรด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต และปุ๋ยอินทรีย์ต่อเนื่องทุกปี 

2. เติมยิปซัมลงดิน ยิปซัมเป็นสารที่ให้แคลเซียมสูง จะค่อยๆ ปลดปล่อยแคลเซียมให้ดินได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีผลต่อค่าความเป็นกรดด่างของดิน ควรใส่ยิปซัมปีละ 1-2 ครั้ง 

3. การฉีดพ่นแคลเซียมทางใบ วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมกันค่อนข้างมาก เพราะทําให้ต้นพืชได้รับแคลเซียมอย่างรวดเร็ว แต่ต้องฉีดพ่นให้ถูกช่วงเวลาและถูกระยะของพืช เช่น 

  • ฉีดพ่นแคลเซียมคลอไรด์หรือแคลเซียมไนเตรทในอัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นต้นมะเขือเทศทุก 7 ในกรณีเริ่มพบอาการหรือในระยะที่ต้นมะเขือเทศกำลังเจริญอย่างรวดเร็วก่อนผลิดอก เพื่อให้เกิดการสะสมอย่างเพียงพอ
  • ระยะออกดอกไปจนถึงเก็บเกี่ยวระยะสุดท้าย ให้ใช้แคลเซียมโบรอน ชนิดฉีดพ่น ผสมน้ำในอัตราส่วน 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ 

ธาตุอาหารพืชแต่ละชนิดจะมีหน้าที่สําคัญแตกต่างกันเพราะฉะนั้นเกษตรกรยิ่งควรทําความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนเลือกใช้ปุ๋ยเพื่อที่จะช่วยให้ประหยัดเงินได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและสามารถ แก้ปัญหาได้ตรงจุดจริงๆ เพียงเท่านี้เราจะได้มะเขือเทศที่สวยสุกเปล่งปลั่ง ลูกผลไม่มีแผล ก้นผลไม่เน่า…ขายได้เต็มราคา คุ้มค่าเหนื่อย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถึงแม้ว่าเราจะดูแลมะเขือเทศเป็นอย่างดี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ สภาพอากาศในวันที่สภาพอากาศอากาศเย็น มีหมอกในยามเช้า มีความชื้นสูง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเกิดโรคพืชในโรงเรือน และโรคพืชที่เราต้องเตรียมรับมือ คือ โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ เป็นโรคที่ระบาดแพร่หลาย และรู้จักกันดีโรคหนึ่ง
ในปัจจุบันแนวโน้มการจัดการการเกษตรจะชัดเจนขึ้น โดยการเปลี่ยนวิถีดั้งเดิมของเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ ผลิตผลที่มีคุณภาพผ่านการควบคุมสภาพแวดล้อมการเพาะปลูกอย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุนี้ทางคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเริ่มโครงการโรงเรือนอัจฉริยะ (FOA Smart Greenhouse) โดยผู้ใช้สามารถ
การเกษตรเป็นเรื่องของทัศนคติและมุมมองความคิด เราต้องมองตลาดให้ออกทั้งความต้องการและปริมาณที่จะขาย ถึงจะเป็นเกษตรกรมืออาชีพ คุณสุกรรณ์ สังข์วรรณะ เกษตรกรยุคใหม่ ทำการเกษตรแบบผสมผสานที่จะเป็นหนทางสร้างความยั่งยืนให้กับอาชีพชาวนาไทยตอนแรกคุณสุกรรณ์ ทำเกษตรอินทรีย์ที่กระแสกำลังมาแรงแบบสุดโต่ง ทำได้ 7 ปี