การจัดการดินหลังน้ำท่วม ในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ถูกน้ำท่วม เกิดความเสียหายที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับช่วงอายุของปาล์มและสถานการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ ดังนี้ 

1. น้ำท่วมน้อยกว่า 15 วัน

1.1 น้ำที่ท่วมขังไม่มีตะกอนดิน ต้นปาล์มน้ำมันฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลด

1.2 น้ำที่ท่วมขังมีตะกอนดินหรือน้ำเน่าเสีย ถ้าท่วมเฉพาะโคนต้นปาล์มน้ำมัน ฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลด แต่ถ้าท่วมถึงยอดต้นปาล์มน้ำมันอาจเน่าเสียหาย

2. ปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปีน้ำท่วมนานกว่า 15 วัน

2.1 น้ำท่วมถึงโคน ถ้าน้ำที่ท่วมขังไม่มีตะกอนดิน ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลดแล้ว 30 วัน แต่ทะลายที่ออกในช่วงนั้นเน่าเสียหายทั้งหมด

2.2 มีน้ำท่วมขังถึงยอดต้นปาล์มน้ำมันบางส่วน อาจตายได้หรือทรุดโทรมอย่างมาก ทะลายที่ออกในช่วงนั้นเน่าเสียหายทั้งหมด

3. ปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป

ปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 3 ปี ระดับน้ำที่ท่วมขังส่วนใหญ่จะไม่ท่วมถึงระดับยอดปาล์มน้ำมัน 

3.1 น้ำท่วมขัง 15 – 30 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ภายใน 30 วัน หลังน้ำลด   แต่ทะลายที่ถูกน้ำท่วมจะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำสามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะต่อไป 

3.2 น้ำท่วมขัง 30 – 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะเริ่มแสดงอาการใบเหลือง เนื่องจากการขาดธาตุอาหาร รากปาล์มน้ำมันบางส่วนเสียหาย ต้นปาล์มน้ำมันต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะ ยาว เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรงและให้ผลผลิตต่อไป 

3.3 น้ำท่วมขังมากกว่า 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะทรุดโทรมอย่างมาก ต้องระบายน้ำที่ท่วมขังออกก่อน แล้วจึงฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาวเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป

แนวทางการฟื้นฟูดินหลังน้ำลด

          น้ำท่วมสวนปาล์มน้ำมันไม่เพียงแต่จะเสียหาย เฉพาะพืชผลทางการเกษตรอย่างเดียว แต่ยังสร้างความเสียหายให้หน้าดินอีกด้วย โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมและมีกระแสน้ำหลากจะพัดพาหน้าดินและจุลินทรีย์ไปด้วย ในบริเวณที่น้ำท่วมขังนานจะกระทบต่อความเป็นกรด เป็นด่างของดิน ดังนั้นเกษตรกรต้องฟื้นฟูสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ก่อนที่จะมีการบํารุงต้นหรือปลูกต้นใหม่ทดแทน สามารถดําเนินการได้ดังนี้

1. ไม่เหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาดทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนําเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทําลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำและการระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืชทําให้ต้นปาล์มน้ำมันตายได้

2. หลังจากน้ำเริ่มลดลงใกล้แห้ง ต้องรีบดําเนินการป้องกันและแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้น คือหากพบต้นที่เอนใกล้ล้มให้ใช้ไม้ยาวๆ ค้ำยันไว้ โดยไม่เข้าไปเหยียบย่ำโคนต้น จากนั้นต้องระบายน้ำที่แช่ขังบริเวณโคนต้นออกให้หมด ตัดหญ้าทําความสะอาดสวนและคลุมโคนต้นปาล์มด้วยหญ้าแห้ง วางเรียงทางใบรอบต้นรักษาความชื้นไว้ในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึง

3. เมื่อดินเริ่มแห้งให้ตัดแต่งดอกและทะลายที่แช่น้ำออกให้หมด เว้นไว้แต่ดอกที่สมบูรณ์ จากนั้นใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีบํารุงดิน โดยใส่บริเวณรอบๆ ทรงพุ่ม ต้นละประมาณ 3-5 กิโลกรัม สําหรับปุ๋ยหมักที่ใช้ให้ขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์ พด.3 ก่อน เพื่อควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน และรดด้วยน้ำหมัก ชีวภาพที่เตรียมจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เจือจาง 1:500 เพื่อเร่งการเจริญของระบบรากพืช

4. ในพื้นที่ที่ถูกน้ำพัดพาหน้าดิน ทําให้หน้าดินสูญเสียแร่ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้ปรับปรุงดินโดยการใช้ปุ๋ยหมัก จากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในอัตรา 2 ตันต่อไร่ เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์

5. ขอคําแนะนําจากหมอดินอาสาและหรือเจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินประจําจังหวัด เพื่อตรวจวิเคราะห์สมบัติของดิน เนื่องจากดินที่ถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานานจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างและปริมาณธาตุอาหารในดิน ถ้าพบว่าดินเป็นกรดให้ใช้วัสดุปูนเพื่อการเกษตร เช่น ปูนมาร์ล หรือ  โดโลไมท์ ในอัตราประมาณ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินและช่วยให้เนื้อดินไม่แน่นทึบ    โดยการหว่านให้ทั่วพื้นที่หรือโดยรอบโคนต้นแล้วไถกลบ จะช่วยให้ดินมีสภาพเป็นกลาง

บทความที่เกี่ยวข้อง

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetraneura nigriabdominalis วงศ์ : Aphididae อันดับ : Homoptera เพลี้ยอ่อนที่ราก T. nigriabdominalis เป็นแมลงปากเจาะดูด ขนาดเล็กประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร สีน้ำตาลแดง ชมพู หรือเหลืองส้ม ลำตัวอ่อนนุ่ม เคลื่อนไหวช้า พบแต่เพศเมีย ไม่มีปีก รูปร่างคล้ายผลฝรั่ง
การอนุรักษ์ดินและน้ำ นอกเหนือจากการปรับปรุงดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีสมบัติอื่น ๆ ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ในขณะเดียวกันควรมีการป้องกันหรือควบคุมความเสื่อมโทรมของดินไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุดรูรั่วหรือป้องกันการสูญเสียเนื้อดินที่ดีรวมทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารออกไป