รถขุดคูโบต้าในสวนปาล์ม

ครบทุกงานในสวนปาล์ม

  • งานปลูกปาล์มน้ำมัน
  • งานขุดร่องน้ำ
  • งานสร้างถนนในสวนปาล์ม
  • งานเก็บผลผลิต

1. งานปลูกปาล์มน้ำมัน

การเตรียมพื้นที่ปลูก

  • กรณีที่เป็นสวนปาล์มน้ำมันเก่าหรือมีต้นไม้ชนิดอื่นขึ้นอยู่ ควรปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ กำจัดต้นปาล์มเก่า และวัชพืชโดยใช้รถขุดคูโบต้า
  • กรณีที่เป็นพื้นที่ลุ่ม ใช้รถขุดคูโบต้าขุดเป็นร่องน้ำ โดยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจะต้องยกร่องขุดระบายน้ำ โดยให้เนินบนสันร่องที่จะปลูกปาล์มน้ำมันอยู่สูงกว่าระดับน้ำที่จะท่วมขัง เพื่อป้องกันน้ำท่วมต้นปาล์ม
  • กรณีที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชัน ใช้รถขุดคูโบต้าปรับพื้นที่รอบต้นปาล์ม เพื่อป้องกันไม่ให้ฝนชะล้างเอาดิน และปุ๋ยไหลออกไปตามน้ำ

การขุดหลุมปลูก

การขุดหลุมปลูกต้นปาล์มจะต้องขุดให้มีความลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตร และเว้นระยะห่างระหว่างต้นปาล์มประมาณ 8 – 9 เมตร เพื่อให้รากของต้นปาล์มเดินหาอาหารได้เต็มที่

การพรวนดินรอบต้นปาล์ม

ใช้รถขุดคูโบต้าในการพรวนดินรอบต้นปาล์มโดยมีรัศมีออกจากต้นปาล์มที่ปลูกประมาณ 1 – 1.5 เมตร เพื่อป้องกันวัชพืช ซึ่งเป็นที่อยู่และอาหารของศรัตรูพืช นอกจากนั้นยังช่วยให้รากของต้นปาล์ม เดินหาอาหารได้สะดวกมากขึ้น

2. งานขุดร่องน้ำ

งานขุดร่องน้ำในสวนปาล์มมี 2 รูปแบบ

1. การขุดร่องน้ำสำหรับพื้นที่ลาดชัน โดยปกติขนาดของร่องน้ำจะอยู่ที่ ยาว 3 เมตร กว้าง 1.5 เมตร และลึก 1 เมตร

ประโยชน์ของการขุดร่องน้ำ

1. ใช้สำหรับการพักน้ำ ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น ในเวลาที่ฝนขาดช่วงทำให้ต้นปาล์มยังคงสามารถได้รับน้ำจากความชื้นของดินได้

2. ใช้ร่องน้ำเป็นที่เก็บชิ้นส่วนของต้น เช่น ทลาย และใบปาล์ม เพื่อทำเป็นที่ผลิตปุ๋ยหมักได้

ในกรณีของพื้นที่เป็นที่ลุ่มหรือมีน้ำขัง สามารถขุดร่องหรือขุดคูระบายน้ำ เพื่อรักษาระดับน้ำในแปลง เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 

(หมายเหตุ: อ้างอิงจากแบบแผนการปลูกอบต. บึงชำอ้อ ตำบลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี) 

2. การขุดร่องน้ำสำหรับพื้นที่ลุ่ม

ผลจากการขุดร่องน้ำ

จากข้อมูลโดยสถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าการให้น้ำที่มากขึ้น จากเดิม 1.2 เท่า จะส่งผลให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อทลายเพิ่มขึ้นประมาณ 3 กิโลกรัม

และจากการเก็บข้อมูล ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ คลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี ตำบลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งปลูกปาล์มน้ำมันแบบขุดร่องน้ำ เห็นได้ชัดว่าการที่ทำร่องน้ำในสวนปาล์มจะสามารถทำให้เก็บผลผลิตได้ 24 ครั้ง/ต้น/ปี และมีปริมาณผลผลิตมากถึง 5.5-7 ตัน/ไร่/ปี มีรายได้เฉลี่ย 23,800 บาท  (*หมายเหตุ ราคาปาล์มน้ำมัน  4 บาท / กิโลกรัม)

สรุปได้ว่าการขุดร่องน้ำสามารถทำให้ต้นปาล์มสามารถรับน้ำได้มากขึ้น ทำให้ผลผลิตสมบูรณ์มากขึ้น

3. งานทำถนนในสวนปาล์ม

ประโยชน์ของถนนในสวนปาล์ม

ช่วยให้การขนย้ายของผลผลิตทำได้สะดวกและทุ่นเวลาในการเดินทางภายในสวน

การทำถนนในสวนปาล์มมี 2 แบบ

1. ถนนใหญ่ ให้เป็นเส้นทางหลักในการขนย้ายผลผลิต ควรมีความกว้างอยู่ที่ 6 เมตร

2. ถนนซอย หรือ ถนนย่อย ใช้เป็นถนนที่เข้าสู่แปลงเพื่อเก็บผลผลิต ความกว้างอยู่ที่ 4 เมตร
*ในการสร้างถนนซอยขึ้นอยู่กับรูปแบบของสวนปาล์ม
โดยปกติหากมีแผนจะสร้างถนนในสวนปาล์ม สิ่งที่มักจะทำควบคู่ไปอีกอย่างคือ “ร่องระบายน้ำ” โดยควรสร้าง ด้านบนกว้างประมาณ 1 เมตร ด้านล่างกว้างประมาณ 0.3 เมตร และลึกประมาณ 1.1 เมตร

4. งานเก็บผลผลิต 

ใช้รถขุดคูโบต้าตักผลผลิต ขึ้นรถบรรทุกหรือ รถกระบะ เพื่อช่วยให้การเคลื่อนย้ายเร็วขึ้น

รุ่นรถขุดคูโบต้าแนะนำ สำหรับใช้ในงานสวนปาล์ม

KX91-3SX ขนาด 3.2 ตัน / KX91-3SX (AC) ขนาด 3.3 ตัน

รถขุดคูโบต้าขนาด 3 ตันรุ่นยอดนิยม ที่เหมาะสำหรับงานขุดร่องน้ำในสวนปาล์ม ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 29.6 แรงม้า และขนาดความกว้างของบุ้งกี๋ 0.5 เมตร และระยะขุดสูงสุดถึง 4.96 เมตร รวมถึงขนาดของตัวรถที่สามารถทำงานใต้ต้นปาล์มได้ จึงเหมาะกับงานสวนปาล์มอย่างยิ่ง

U55-6 ขนาด 5.2 ตัน U55-6 (AC) ขนาด 5.3 ตัน

รถขุดคูโบต้าขนาด 5 ตัน ครบทุกงานในสวนปาล์ม ด้วยเครื่องยนต์ขนาด 47.6 แรงม้า และขนาดความกว้างของบุ้งกี๋ 0.65 เมตร และระยะขุดสูงสุดถึง 5.66 เมตร จึงสามารถทำงานได้ครอบคลุมตั้งแต่งานเตรียมพื้นที่ปลูกจนถึงงานขุดร่องน้ำ ทำให้สามารถทำงานในสวนปาล์มได้อย่างดีเยี่ยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มันสำปะหลังพันธุ์ ห้วยบง 80 เป็นมันสำปะหลังที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของนักวิจัยจากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย พันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50 เริ่มแนะนำพันธุ์ให้เกษตรกรปลูกตั้งแต่ปี 2551 พันธุ์ห้วย
รู้หรือไม่ว่าการทำนาด้วยวิธีการหว่านแห้ง หรือการหว่านน้ำตม ส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ทั้งค่าเมล็ดพันธุ์ และค่าจ้างแรงงาน เนื่องจากการหว่านจะทำให้ต้นข้าวแตกกอหนาแน่น ไม่เป็นระเบียบ จึงจัดการดูแลรักษายาก โดยเฉพาะการกำจัดวัชพืช มีโอกาสเกิดโรคและได้รับความเสียหายจากแมลงศัตรูพืช
พบในข้าวไร่ภาคเหนือและภาคใต้ และ ข้าวนาสวน (นาปี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุ : เชื้อรา Rhynocosporium oryzae Hashioka&Yokogi อาการ : ระยะกล้าข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบและมีสีน้ำตาลเข้ม ระยะแตกกออาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ แต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของใบ แผลที