ปลูกยางพาราไม่กลัวแล้ง

ทำไมยางพาราที่ปลูกภาคอีสานจึงยืนต้นตายตอนหน้าแล้ง

คงต้องอธิบายก่อนว่ายางพาราและไม้ยืนต้นอื่นๆ เจริญเติบโตตามความลึกของราก รากยิ่งลึกต้นก็ยิ่งสูง และยิ่งเจริญเติบโตดี แต่ภาคอีสานมีชั้นหน้าดินน้อย ดินดานหรือชั้นทรายแป้งอยู่ในระดับสูง จึงทำให้รากไม่สามารถแทรกลงลึกไปในดินได้ สิ่งที่เห็นก็คือต้นยางพาราเตี้ย และมีวงรอบเล็กกว่าที่ควร เมื่อเข้าหน้าแล้งน้ำในดินมีน้อย รากไม่สามารถหาน้ำได้ ก็จะเริ่มทิ้งใบจากปลายยอดลงมาจนหมดต้นและยืนต้นตาย

แต่ไม่ต้องกลัวแล้วเพราะเราได้คุณครูใจดี ที่มีวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้มาชี้แจงแถลงไขให้ฟัง ครูท่านนี้มีนามว่าคุณบุญเพ็ง ลามคำ (ผู้จัดการไร่) คุณพินิจ  จารุสมบัติ ท่านบอกว่าวิธีการนี้เกิดจากการศึกษาและวิจัยนำโดยคุณพินิจ จารุสมบัติ และทำแล้วได้ผลดีมาก ๆ เพราะยางพาราที่ปลูกเมื่อเจอแล้งก็ไม่ตายแถมออกยอดอ่อนหน้าแล้งด้วย

วิธีการต่าง ๆ ต้องเริ่มตั้งแต่การเตรียมหลุมก่อนปลูกโดยมีขั้นตอนดังนี้

1. ไถด้วยผานเก็บตอ และวัชพืชตากดิน 15 วัน แล้วไถด้วยผาน 7 อีกหนึ่งครั้ง

2. วัดและปักแนวปลูกใช้ระยะปลูก 3 x 7 ม.

3. ใช้แทรกเตอร์ใส่หางเจาะ ขุดหลุมตามแนวขนาดหลุม 40 x 60 ซม.

4. ใส่ปุ๋ยรองพื้น ร็อคฟอสเฟต (0-3-0) ประมาณ 150 กรัม/หลุม และใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 1/2 กก. 

5. ทำการปลูกโดยต้องให้ตาที่ติดไว้หันไปทางทิศเหนือทุกต้นเพื่อหลบแสงแดด

วิธีการสำหรับดูแลสวนยางพาราเมื่อเจอแล้ง

นอกเหนือจากการปลูกที่ปราณีตแล้ว วิธีที่ทำให้ยางพาราทนแล้งก็คือ การขุดหลุมข้างต้นเพื่อใส่ปุ๋ย และน้ำลงไปเมื่อเข้าฤดูแล้ง(การขุดจะทำการขุดช่วงต้นฤดูแล้ง) มีวิธีการและขั้นตอนดังนี้

1.ใช้แทรกเตอร์ติดหางขุด ขุดหลุมขนาดเดียวกันกับหลุมปลูกคือ 40 x 60 ซม. ยางที่ปลูกปีแรกให้ขุดหลุมห่างจากต้นประมาณ 60 ซม.ทั้งสองด้าน โดยขุดในแนวระหว่างต้นของแถวยาง แทรกเตอร์ที่เหมาะสมควรใช้ KUBOTA รุ่น M5000 ขึ้นไป เพราะถ้าเป็นรุ่นเล็กกว่านี้กำลังในการขุดจะไม่เพียงพอ ถ้าต้องขุดในดินที่เริ่มแห้งช่วงต้นฤดูแล้ง

2.นำปุ๋ยหมักสูตรดียวกันกับที่ใส่รองก้นหลุมใส่ลงในหลุ่มที่ขุดไว้ ในอัตรา หลุมละ 8 กก. และอาจใส่ฟางข้าว เปลือกถั่ว หรือเศษพืชลงในหลุมเพื่อช่วยเก็บความชื้นด้วยก็ได้ โดยไม่ต้องมีการกลบหลุม

3.เมื่อเข้าฤดูแล้งเมื่อความชื้นในดินไม่เพียงพอ ให้ใส่น้ำลงในหลุมที่เราเตรียมไว้โดยใส่ให้เต็มจนถึงปากหลุม ในช่วงฤดูแล้งอาจต้องมีการใส่น้ำทุก 7 วัน หรือดูตามความชื้นในดิน สำหรับไร่ที่มีพื้นที่มากอาจใช้ถังบรรจุน้ำ ต่อพ่วงแทรกเตอร์ ในการขนส่งน้ำเพื่อรดก็จะช่วยประหยัดในส่วนของแรงงานไปได้มาก

4. เมื่อผ่านพ้นฤดูแล้งก็ทำการกลบหลุม เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในฤดูฝน และเป็นการฝังกลบปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ไว้ด้วย และเมื่อยางมีอายุเพิ่มขึ้นหรือในช่วงฤดูแล้งของปีถัดไปก็ขยับหลุมออกห่างจากต้นตามทรงพุ่มของยางพารา

บทความที่เกี่ยวข้อง

แอลฟาทอกซินในข้าวโพด เชื้อสาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavus ลักษณะอาการ: เชื้อรา Aspergillus flavus จะสร้างกลุ่มของสปอร์สีเหลืองปนเขียว ซึ่งเห็นความแตกต่างได้จากโรคจากเชื้อราอื่น ๆ เมื่อทำการเก็บเกี่ยว การแพร่ระบาด: เชื้อราตัวนี้สามารถเจริญบนไหมของฝักข้าวโพดและเจริญเข้าไป
โรครากและหัวเน่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก ทำให้ผลผลิตสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะในแหล่งที่ดินระบายน้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไปหรือในพื้นที่ที่เคยปลูกกาแฟ ยาง หรือเป็นป่าไม้มาแล้ว ในบางครั้งสามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการชะล้างสูง โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งระยะต้นกล้า และระยะที่ลงหัวแล้ว โรครากและหัวเน่าเกิดจากเชื้อ
ในปัจจุบันนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการทำเกษตรเป็นอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำเกษตรเกิดการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรจึงควรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยก้าวไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและการเกษตร สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันได้อย่างลงตัว ช่วยให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น