โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม

โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม

(Northern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot)

ลักษณะอาการ

พบอาการตั้งแต่ใบแรกจนถึงใบธง แผลเป็นจุดค่อนข้างกลมสีเหลือง หรือน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดความกว้างยาวของแผลอยู่ระหว่าง 0.5 – 4.0 x 0.5 – 40.0 มม. เมื่อความชื้นสูงแผลขยายใหญ่ เนื้อใบแห้งตาย หูใบแห้ง เชื้อราสร้างสปอร์ผงสีดำจำนวนมาก กาบใบ และกาบฝักไหม้แห้ง ฝักเน่า ผลผลิตลดประมาณ 70%

เชื้อสาเหตุ

เกิดจากเชื้อรา Bipolaris zeicola (Stout). Shoemaker ชื่อเดิม Helminthosporium carbonum Ullstrup. Drechslera zeicola. (Stout) Subram. & Jain. สปอร์รูปทรงเรียวยาวเกือบเป็นรูปกระสวย สีเขียวเข้มอมน้ำตาล มีผนังกั้น 4-8 อัน

การแพร่ระบาดและการป้องกันกำจัด

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากโรค

2. ถอนเผาทำลายต้นที่เป็นโรค

3. ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น นครสวรรค์1 นครสวรรค์72 สุวรรณ1 สุวรรณ2  สุวรรณ5 สุวรรณ3851

4. ใช้สารเคมีไตรโฟรีน (ซาพรอล)

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำนาเปียกสลับแห้ง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำนา ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาให้ดีขึ้น พร้อมตอบโจทย์การทำนาแบบรักษ์โลก ซึ่งการทำนาเปียกสลับแห้งทำอย่างไร มีข้อดีแบบไหน ศึกษาการเป็นชาวนารักษ์โลกไปพร้อมกับ KAS ได้ในบทความนี้
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย ซึ่งเป็นความ เกี่ยวข้องกันระหว่างระบบการปลูกและขั้นตอนการดูแลแปลงนั้นก็คือ การปรับระบบปลูกเพื่อใช้เครื่องจักรกลเข้าดูแลแปลงได้ตลอดอายุการ เจริญเติบโตของอ้อย ในขั้นตอนการดูแลรักษาแปลงที่สำคัญคือ การ ป้องกันกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันนี้จากปัญหาการขาดแคลน แรงงาน