ไรแดง

มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่าง และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอด และขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่าง ทำให้ตาลีบใบ เหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง

ช่วงเวลาระบาด

ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

การป้องกันกำจัด

– ด้วงเต่าและด้วงปีกสั้นเป็นศัตรูธรรมชาติ

– หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนานการตกของฝนสามารถลดการระบาดได้

– หมั่นตรวจแปลงหากพบระบาดรุนแรงในระยะเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด

ลักษณะของใบมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย
ไรแดงและการทำลาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา สยามคูโบต้า ได้ร่วมจัดตัวอย่างแปลงสาธิตการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบครบวงจร โดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ในงานประชุมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลนานาชาติ ครั้งที่ 29 เพื่อโชว์ศักยภาพการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับปลูกอ้อยรายย่อยแบบรวมกลุ่มให้มี
ข้อมูลพันธุ์มันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตร (สำหรับอุตสาหกรรม)
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและชีวภาพ ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่ละชนิดที่วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร พบว่าประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) กรดอินทรีย์ พวกกรดฮิวมิก ฮอร์โมน พวกออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์