การเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียนโดยใช้ต้นมันสำปะหลัง

แตนเบียน (Anagyrus lopezi) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแถบอเมริกาใต้ ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน สามารถฆ่า (การห้ำ) เพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายได้ทันที เฉลี่ยวันละ 20-30 ตัว และวางไข่ (การเบียน) ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เฉลี่ยวันละ 15-20 ตัว แตนเบียนหนึ่งตัวสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูได้เฉลี่ยวันละ 35-50 ตัว โดยที่เพศเมียจะทำหน้าที่กำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู และเพศผู้จะมีหน้าที่ผสมพันธุ์กับเพศเมีย

ขั้นตอนที่ 1 : ปลูกต้นมันสำปะหลังในกระถางขนาดประมาณ 8-12 นิ้ว ใช้ท่อนมันตัดยาวประมาณ 20-25  ซม. ปลูกในกระถาง ๆ ละ 2-3 ท่อน ให้น้ำและดูแลรักษา 35-45 วัน ควรปลูกไว้ให้ไกลจากบริเวณที่จะเตรียมเพลี้ยแป้งเพื่อเลี้ยงแตนเบียน

ขั้นตอนที่ 2 : ใช้พู่กันเขี่ยกลุ่มไข่ของเพลี้ยแป้งสีชมพูลงบนยอดและใบมัน ต้นละ 5-7 กลุ่มไข่ ตั้งพักไว้ในที่ร่ม มีแสงเพียงพอ ให้น้ำเป็นระยะ เพื่อให้ต้นมันเจริญเติบโตได้ดี ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 15-23 วัน จะได้เพลี้ยแป้งที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงแตนเบียน

ขั้นตอนที่ 3 : นำต้นมันที่มีเพลี้ยแป้งพร้อมแล้วใส่ในกรงที่มีตาข่ายเนื้อละเอียดตามขนาดที่เตรียมไว้ ปล่อยแตนเบียน 20 คู่ ต่อต้นมัน 3-5 ต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเพลี้ยแป้ง แตนเบียนจะวางไข่ เจริญเติบโตในตัวเพลี้ยแป้งทำให้เพลี้ยแป้งตาย กลายเป็นมัมมี่ใช้เวลาประมาณ 15-21 วัน

ข้อสังเกต : ในระยะแรกแตนเบียนเพศผู้จะออกจากมัมมี่ก่อน หลังจากนั้นแตนเบียนเพศเมียจึงจะออกจากมัมมี่ตามมา ระยะแรกจะมีแตนเบียนทยอยออกมาจากมัมมี่น้อยกว่าระยะหลัง ควรหมั่นเฝ้าสังเกตอย่างต่อเนื่อง และหลังจาก 15 วัน ควรมีการดูดจับแตนเบียนทุกวัน ทั้งนี้อัตราการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ปกติจะได้ประมาณ 10 เท่า จากจำนวนแตนเบียนที่ปล่อยเป็นพ่อแม่พันธุ์

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อครบกำหนด 15-21 วัน แตนเบียนจะเจาะผนังลำตัวเพลี้ยแป้งที่เป็นมัมมี่ออกมา ให้ใช้เครื่องดูดจับแตนเบียนตามตัวอย่าง นำแตนเบียนที่ได้มาคัดแยก ตรวจนับ และบรรจุภาชนะ โดยบรรจุเพศผู้และเพศเมีย อย่างละเท่า ๆ กัน จำนวน 100-200 คู่ ตามขนาดของภาชนะบรรจุ

หมายเหตุ : การบรรจุแตนเบียนลงในภาชนะบรรจุ ต้องใช่กระดาษทิชชู ขนาดประมาณ 1×2 นิ้ว โดยใช้พู่กันป้ายน้ำผึ้งลงบนทิชชู่ ทั้งนี้ต้องใช้น้ำผึ้งแท้ผสมกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วนน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน

ในกรณีที่ต้องการเก็บรักษาแตนเบียนไว้ใช้งาน สามารถเก็บรักษาได้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยจะเก็บรักษาได้ประมาณ 30-40 วัน แต่ควรเร่งปล่อยภายใน 15-20 วัน จะได้แตนเบียนที่แข็งแรงเหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

สมบัติของดินที่เหมาะสม – ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย – มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี – ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง – ค่าความเป็นกรด – ด่าง 5.5 – 7.0 (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว) และ 5.5 – 6.0 (ถั่วลิสง)
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและชีวภาพ ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำแต่ละชนิดที่วิเคราะห์โดยกรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตร พบว่าประกอบด้วย ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม (จุลธาตุ) กรดอินทรีย์ พวกกรดฮิวมิก ฮอร์โมน พวกออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน เอนไซม์บางชนิด และจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการไถกลบหรือตัด สับ ต้น ในและส่วนต่างๆ ของพืชในขณะที่ยังสด ปกตินิยมใช้พืชตระกูลถั่ว เพื่อเจริญเติบโตเร็ว ขึ้นได้ในดินหลายชนิด ที่สำคัญคือ พืชตระกูลถั่วสามารถจับหรือตรึงธาตุไนโตรเจน(ที่เป็นธาตุอาหารหลักของพืชจากอากาศได้) โดยไถกลบในช่วงออกดอกซึ่งเป็น