โรคใบขีดแดงและยอดเน่า

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans

การระบาด

1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์

2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง

ลักษณะอาการ

ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบทั้งอาการขีดแดง และยอดเน่าเมื่อเป็นรุนแรงใบยอดเน่าดึงออกง่าย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ภายในลําช้ำเน่าเป็นสีชมพูถึงสีน้ำตาลแดง เนื้ออ้อยเน่ากลางตาอ้อยด้านข้างงอกเป็นหน่อบนต้น

การป้องกันกําจัด

1. ทําลายกอที่เป็นโรค

2. ป้องกันการทําลายของหนอนโดยใช้ยาดูดซึม

3. แปลงควรระบายน้ำดี

4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเดี่ยวระยะอ้อยอ่อน

5. กรณีที่ระบาดรุนแรงใช้สารเคมีคอบเปอร์ออกซิคลอไรด์ เช่นคาร์โบซินอัตรา 40 กรัม ต่อ 20 ลิตร

6. เมื่อจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูกใหม่

  • ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่อ่อนแอต่อโรค เช่นอู่ทอง 1 เค 84-200 เค 88-92
  • ไถดินตากและพักดินก่อนปลูกพันธุ์ใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาขาดแคลนแรงงานเป็นปัญหาใหญ่ จะหาทางออกอย่างไรดี? หาคำตอบได้ที่นี่ คลิกเลย
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re) กลุ่มชุดดินที่ 17 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
เพลี้ยแป้งสีชมพู พบการระบาดมากในช่วงฤดูแล้งฝนทิ้งช่วง เพลี้ยแป้งเข้าทำลายมันสำปะหลังได้ทุกระยะของการเจริญเติบโตได้ด้วยการ ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนยอด ใบ ตา และลำต้น