โรคแส้ดํา (Smut disease)

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea

การระบาด

1.  การระบาดเป็นไปอย่างกว้างขวางโดยทางท่อนพันธุ์จากกอที่เป็นโรค

2.  เชื้ออยู่ในดินและสามารถเข้าทําลายอ้อยที่ปลูกใหม่ได้

3.  เชื้อสามารถแพร่กระจายได้โดยลมและเข้าทําลายพันธุ์ที่อ่อนแอได้

ลักษณะอาการ

อ้อยจะแตกยอดออกมาเป็นแส้สีดําแทนยอดปกติ ต้นแคระแกรนผอม ข้อสั้นใบเล็กแตกกอจัด เมื่อเป็นรุนแรงอ้อยจะแห้งตาย ผลผลิตลดลงเกินกว่า 10 %

การป้องกันและการกําจัด

1.  เลือกใช้พันธุ์ต้านทานเช่น อู่ทอง1 อู่ทอง2 อู่ทอง3 อู่ทอง4

2.  ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด

3.  ในพื้นที่มีการระบาด ถ้าเลือกใช้พันธุ์ที่ไม่ทราบข้อมูลความต้านทาน ควรแช่ท่อนพันธุ์ ในสารเคมีเช่นไตรอะไดมีฟอน (ไบลีตัน 25% WP) โปรปิโคนาโซล (ทิลท์เดสเมล) อัตรา 48 กรัมต่อน้ำ 20  ลิตร นาน 30 นาทีก่อนปลูก

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นวันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ คุณอนันต์ บุญสมปอง บ้านเลขที่ 64/4 หมู่ 2 ต.จอระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี อดีตรองผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันได้ผันมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ซึ่งสามารถผลิตมันสำปะหลังสดได้
น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการชักนำให้เกิดชนิดวัชพืชต่าง ๆ ในนาข้าว เนื่องจากความชื้นในดินมีส่วนช่วยให้เมล็ดหรือส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชงอกได้ วัชพืชแต่ละชนิดต้องการความชื้นในการงอก ในระดับที่แตกต่างกันออกไป เช่น หญ้านกสีชมพู หนวดปลาดุก และกกทราย ต้องการความชื้นระดับดินหมาด (field capacity)