โรคขาดธาตุแมกนีเซียม (Mg)

การขาดธาตุแมกนีเซียมของอ้อย จะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยเกิดผลแห้งตายสีแดง ทำให้มองเห็นว่าเป็นสีสนิมเกิดขึ้น การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรง และมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ซึ่งสนิมที่เกิดขึ้นสามารถแพร่กระจายไปทั่วทั้งแผ่น และอาจทำให้ใบแก่นั้นเกิดการหลุดหักร่วงก่อนอายุจริง

ลักษณะอาการโรค

อ้อยที่ขาดแมกนีเซียม จะมีจุดประ คล้ายสนิมเหล็ก ทั่วบริเวณด้านบนของใบภายในลำอ้อย  หากผ่าดูจะมีสีน้ำตาล ทำให้ใบแก่ หลุดร่วงก่อนอายุ ลำต้นอาจแคระแกร็น ลักษณะคล้ายกับอ้อยขาดแคลเซียมมาก ลำต้นเล็ก ปล้องสั้น

การป้องกันกำจัด

การขาดแมกนีเซียม มักเกิดในดินทรายและดินที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งการใส่โพแทสเซียม ในอัตราสูง จะทำให้เกิดการขาดแมกนีเซียม ในขณะที่ดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ปุ๋ยที่ให้แมกนีเซียม ได้แก่ โดโลไมท์ แมกนีไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต ซึ่งจะดีกว่าการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในปริมาณมาก เพราะจะทำให้อ้อยขาดแมกนีเซียมมาก ในทางกลับกันอ้อยที่ขาดแมกนีเซียมสูง (มากกว่า 0.35 – 0.6%) และมีระดับของไนโตรเจนที่สูง (3.5 – 4.0%) อ้อยอาจแสดงการขาดโพแทสเซียมถ้ามีแมกนีเซียมมากกว่า 0.6% จะเกิดแมกนีเซียมเป็นพิษ

บทความที่เกี่ยวข้อง

“แผ่นเทียบสีใบข้าว” คือ อุปกรณ์วัดสีของใบข้าว โดยแผ่นดังกล่าวมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกคุณภาพพิเศษ ประกอบด้วยแถบสีระดับต่าง ๆ 4-6 แถบ มีร่องเล็ก ๆเลียนแบบลักษณะของใบข้าว ซึ่งระดับสีบนแผ่นเทียบจะจำลองจากสีของใบข้าว หลังจากการใส่ปุ๋ยเคมี ประกอบด้วยสีเขียวเข้ม จางลงตามลำดับ
ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ? คำถามคู่เกษตรกรปลูกข้าวมือใหม่ เพราะการปลูกข้าวไม่ใช่เพียงแค่หว่านแล้วจบ แต่จำเป็นต้องศึกษาระยะการเจริญเติบโตของข้าวให้ครบถ้วน เพื่อให้ได้ต้นข้าวคุณภาพดีที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอยากรู้แล้วว่าระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ KUBOTA (Agri) Solutions สรุปมาให้แล้วในบทความนี้
ก่อนปลูก เก็บตัวอย่างดิน เมื่อวิเคราะห์และทำแผนที่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ไถเตรียมดิน ด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เหมาะสม ไถระเบิดดินดาน โดยใช้เครื่องไถระเบิดดินดาน ตราช้างรุ่น SS5 ซึ่งออกแบบหัว ริปเปอร์ให้เรียบแบบมีปีก ทำให้การระเบิดดินดานเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ มีความลึกประมาณ 40-50 เซนติเมตร