โรคเหี่ยว (Wilt)

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium  และ Acremonium

การระบาด

1.  ทางท่อนพันธุ์

2.  เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ

3.  โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน

ลักษณะอาการ

อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย เมื่อตรวจดูบริเวณรากจะพบอาการรากเน่า อาจจะพบอาการช้ำเน่าในลําร่วมกับรากเน่าหรือพบแต่อาการรากเน่าอย่างเดียวก็ได้ มักจะพบระบาดกับพันธุ์มากอส แต่ในปัจจุบันเริ่มพบระบาดกับพันธุ์อ้อยอื่นๆที่ปลูกเป็นการค้า

การป้องกันกําจัด

1.  เนื่องจากเชื้อราสาเหตุเป็นเชื้อในดินการป้องกันกําจัดค่อนข้างยาก ดังนั้นวิธีการที่ ได้ผลดีที่สุดคือการใช้พันธุ์ต้านทานปัจจุบันพันธุ์ที่พบว่าเป็นโรคน้อยคือ เค 90-77 และอู่ทอง4

2.  ถ้าพบการเกิดโรคเป็นหย่อมๆ ใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดบริเวณกอที่เป็น จะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคลงได้สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เบนโนมิลและไธอะเบนดาโซล ความเข้มข้น 500 ppm.

3.  ในกรณีที่เป็นโรคกระจายทั่วทั้งแปลง ไม่แนะนําให้ใช้สารเคมีเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุน ควรไถคราดตอที่เป็นโรคออกเผาทิ้งพักดินตาก แล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือปลูกอ้อยพันธุ์ที่ต้านทาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่อทั่วไป : แมลงช้างปีกใส (Green lacewing) วงศ์ (Family) : Chrysopidae อันดับ (Order) : Neuroptera เป็นแมลงห้ำที่มีบทบาทในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เป็นตัวห้ำที่กินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่นเพลี้ยอ่อย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่
เชื้อสาเหตุของโรคใบขาว โรคใบขาวของอ้อยเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่ต้องเจริญเติบโตอยู่ในต้นอ้อยหรือในแมลงพาหะเท่านั้น โดยเชื้อจะอยู่ภายในท่ออาหารของอ้อย ซึ่งอ้อยเจริญเติบโตไปได้เพียงใด เชื้อสาเหตุของโรคสามารถเพิ่มปริมาณไปได้ไกลเท่ากัน แมลงพาหะถ่ายทอดเชื้อ แมลงพาหะที่สามารถถ่ายทอดเชื้อไฟโต
การปลูกอ้อยน้ำน้อย เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ทางสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ศึกษาดูงานจากต่างประเทศและทำการวิจัยเพื่อปรับให้สามารถใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยหลักการคือ ต้องการบริหารจัดการน้ำภายในแปลงอ้อยให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากข้อมูลสถิติที่ทาง สสนก. ศึกษาพื้นที่ ต.ซับสมบูร