ปลูกอ้อยอย่างไรให้ได้กำไรสูงสุด

เมื่อพูดถึงการทำไร่อ้อยในช่วงเวลานี้ คงต้องเน้นคุยกันเรื่องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ แต่ในปัจจุบันการเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่คงทำได้ยาก มีหลักการง่าย ๆ ที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้โดยไม่ยาก แต่ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ของตนเองประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ อันเป็นที่ยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้จริง ร่วมกับการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อนำมาใช้เพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่ของตนเอง

หลักการเพิ่มผลผลิต ผลผลิตของอ้อยที่เราขายกันมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ปริมาณ หรือน้ำหนัก และคุณภาพ หรือความหวาน แต่สิ่งที่เกษตรกรเน้นกันมากในปัจจุบัน คือ เรื่องของน้ำหนักผลผลิต โดยเราสามารถเพิ่มน้ำหนักผลผลิตต่อไร่ง่าย ๆ ดังนี้

เมื่อนำองค์ประกอบผลผลิตตามเป้าหมายมาคำนวณ : จำนวนลำต่อไร่ 840×15 = 12,600 ลำต่อไร่ น้ำหนักต่อลำ = 2 กิโลกรัม ผลผลิตเชิงปริมาณเท่ากับ 12,600 ลำ × 2 กิโลกรัม = 25 ตันต่อไร่

จะเห็นได้ว่าตัวเลขเป้าหมายนั้นสามารถทำได้จริง แต่จะทำอย่างไรให้ได้สม่ำเสมอเสมอทุกแปลงและต่อเนื่องทุกๆ ปี ซึ่งจะต้องอาศัยเทคนิค และการจัดการที่ดีมาใช้ ปัจจัยที่จะทำให้อ้อยเจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่ดีนั้น ตามหลักวิชาการแล้วประกอบด้วยสองส่วน คือ พันธุกรรม (Genetic)

กับสภาพแวดล้อม (Environment)พันธุกรรม คือ ลักษณะเฉพาะของอ้อยที่ประกอบไปด้วยทั้งส่วนที่เหมือน และแตกต่างจากพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ อ้อยยังมีลักษณะที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกัน ซึ่งเราแบ่งแยกออก และเรียกว่า “พันธุ์อ้อย” นั่นเอง ดังนั้นลักษณะของอ้อยก็ไม่เหมือนกับพืชชนิดอื่น อ้อยที่ต่างพันธุ์กันก็มีลักษณะที่ต่างกัน สภาพแวดล้อม คือ ปัจจัยภายนอกที่จะมีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อย สามารถแบ่งเป็น 5 เรื่อง คือ ดิน น้ำ ธาตุอาหาร สภาพอากาศ และศัตรูพืช

ดังนั้น ขั้นตอนการเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 25 ตันนั้น เริ่มจากการเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพื้นฐานของตนเอ งซึ่งปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยให้เลือกหลากหลาย โดยเกษตรกรสามารถนำเอาพันธุ์อ้อยใหม่ ๆ ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ มาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเองโดยแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ใช้วิธีการจัดการที่เป็นมาตรฐาน และเก็บข้อมูลเปรียบเทียบทั้งเรื่องการเจริญเติบโตและผลผลิตก็จะสามารถได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ของเรามาเป็นพันธุ์หลักในการขยายปลูกในพื้นที่ของตนเองได้ ในขณะเดียวกันก็ค้นหาเทคนิค หรือ วิธีการที่จะทำให้อ้อยที่เราปลูกมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด คือ มีความชื้นเพียงพอมีดินและธาตุอาหารเหมาะสม ได้รับแสงแดดและอากาศอย่างเพียงพอ และมีศัตรูพืชรบกวนน้อยที่สุด ซึ่งควรมีการวางแผนการจัดการในทุกขั้นตอน เช่น ช่วงเตรียมแปลง ปลูก เก็บเกี่ยว และควรนำเครื่องมือมาช่วยจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงานตัวอย่างเทคนิคที่ได้ทำการศึกษาและทดลองว่าได้ผลจริงในการเพิ่มผลผลิตอ้อย มีดังนี้

สรุปเทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย คือ การคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกัสภาพแวดล้อมพื้นฐานของแปลงที่เราจะปลูก และปรับสภาพแวดล้อมพื้นฐานให้เหมาะสมกับพันธุ์อ้อยที่เราเลือกให้ได้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากอ้อยจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้เต็มศักยภาพแล้ว ยังทำให้ชาวไร่ได้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาของดินในแปลงปลูกพืชพร้อมกับคำแนะนำในการแก้ไข ปรับปรุงบำรุงดิน เช่น การใช้ปุ๋ย การใช้ปูน การปรับปรุงดินกรด รวมทั้งการใช้วัสดุหรือสารปรับปรุงดินอย่างอื่น ตามความจำเป็นเพื่อให้การปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีคุณภาพดีขึ้น
ชนิด : ข้าวเจ้า ประวัติพันธุ์ :เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมใน จ.พัทลุง นาปี พ.ศ. 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง หนึ่งในสามแหล่งของข้าวสังข์หยดของจังหวัด ซึ่งมีความแปรปรวนในลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรที่เก็บ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงคัดเลือกได