ปลูกอ้อยแบบร่องคู่ ระยะแถว 190 เซนติเมตร ใช้แทรกเตอร์คูโบต้าดูแลแปลง ได้ผลผลิตเพิ่ม

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย

ซึ่งเป็นความ เกี่ยวข้องกันระหว่างระบบการปลูกและขั้นตอนการดูแลแปลงนั้นก็คือ การปรับระบบปลูกเพื่อใช้เครื่องจักรกลเข้าดูแลแปลงได้ตลอดอายุการ เจริญเติบโตของอ้อย ในขั้นตอนการดูแลรักษาแปลงที่สำคัญคือ การ ป้องกันกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ย ซึ่งปัจจุบันนี้จากปัญหาการขาดแคลน แรงงานและค่าจ้างที่แพงขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวไร่ไม่สามารถ ดูแลแปลงได้เต็มที่ จนทำให้อ้อยไม่สมบูรณ์ และได้ผลผลิตน้อยลง

สำหรับเทคนิคของเรา จะปรับระบบการปลูกใหม่และเลือกใช้ เครื่องจักรให้เหมาะสม เริ่มต้นที่ ระบบการปลูก เราใช้เครื่องปลูกแถวคู่ ระยะแถวคู่ 30 – 40 เซนติเมตร ใช้ระยะระหว่างแถว 190 เซนติเมตร จากข้อมูลแปลงทดลองและแปลงตัวอย่างหลาย ๆ แปลง พบว่า ประชากร ของการปลูกแบบร่องคู่มีจำนวน 12 – 16 ลำ ต่อระยะ 1 เมตร โดยการที่สามารถใช้เครื่องจักรกลเข้าไปดูแลแปลงได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ของอ้อย นอกจากจะช่วยให้อ้อยมีน้ำหนักลำและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้วยัง ช่วยลดต้นทุนจากการลดการใช้แรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ที่มากขึ้น

ในการดูแลแปลงที่อ้อยที่อายุมากกว่า 3 – 4 เดือน หรือ มีความ สูงมากกว่า 50 เซนติเมตรนั้นต้องใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็ก ขนาด 21 – 24 แรงม้า ต่อพ่วงอุปกรณ์พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เข้าทำงานระหว่างแถวอ้อย แต่ ต้องใช้ระยะแถวตั้งแต่ 190 เซนติเมตร ขึ้นไป สำหรับการทำงานของ แทรกเตอร์ขนาดเล็กร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วง ขอยกตัวอย่างในขั้นตอน การพรวนดินกำจัดวัชพืช และการใส่ปุ๋ยดังนี้

การพรวนดินกำจัดวัชพืช

การพรวนดินระหว่างแถวอ้อยนั้นมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น เพื่อกำจัดวัชพืช เปิดผิวหน้าดินรับน้ำฝน รักษาความชื้นดิน การพรวนกลบ ปุ๋ยลดการสูญเสีย หรือช่วยให้การถ่ายเทอากาศในดินดีขึ้น วิธีการที่สามารถ ทำได้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดแรงงาน คือการใช้แทรกเตอร์ขนาดตั้งแต่ 21 – 24 แรงม้า ความกว้างตัวรถแคบ เพื่อสามารถเข้าทำงานระหว่าง แถวอ้อยได้ ตั้งแต่อ้อยอายุ 1 – 8 เดือน อุปกรณ์ที่ใช้ต่อพ่วงเพื่อทำหน้าที่พรวนดินมีหลายชนิด เช่น จอบ หมุนหรือโรตารี่ เพื่อปั่นพรวนดินได้ละเอียดกว่าอุปกรณ์ชนิดอื่น และปั่น ได้ลึกตั้งแต่ 8 – 10 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดและความชื้นดิน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำจัดวัชพืชไปในตัว โดยตัวใบมีดจะทำหน้าที่สับลงที่ต้นวัชพืช และย่อยวัชพืชให้มีขนาดเล็ก ซึ่งจะย่อยสลายได้เร็ว และกลายเป็นอินทรีย์ วัตถุเพื่อปรับปรุงดินได้อีกด้วย อุปกรณ์อีกหนึ่งชนิดก็คือชุดกลบโคนอ้อย ซึ่งสามารถต่อพ่วงกับ แทรกเตอร์ขนาดเล็กได้เช่นกัน การกลบโคนอ้อยนั้นจะทำเมื่ออ้อยแตกกอ เต็มที่แล้ว มีประโยชน์เพื่อให้รากอ้อยถูกฝังดินได้ลึกขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ได้ รับความชื้นจากดินมากขึ้น เพราะชั้นดินที่ลึกกว่าจะมีความชื้นมากกว่า ที่ชั้นผิวดิน นอกจากนี้ยังทำให้รากอ้อยมีพื้นที่การเจริญเติบโตได้มากขึ้น และช่วยป้องกันการโค่นล้มเมื่ออ้อยโตเต็มที

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในแปลงอ้อยโดยส่วนใหญ่จะใส่ กัน 2 – 3 ครั้ง คือปุ๋ยรองพื้นใส่พร้อมปลูก 1 ครั้ง และปุ๋ยแต่งหน้าอีก 1 – 2 ครั้ง แต่สามารถใช้ เครื่องจักรในการใส่ปุ๋ยได้เพียง 1 – 2 ครั้งที่อายุอ้อย ไม่เกิน 3 – 4 เดือน หลังจากนั้นก็ต้องใช้แรงงานหว่าน ซึ่งไม่สม่ำเสมอและสูญเสียปุ๋ยเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถฝังกลบปุ๋ยได้ และเมื่อมาดูอายุอ้อย ที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวนั้นควรมีอายุมากกว่า 10 เดือนขึ้นไปจึงจะได้ผลผลิตที่ดีทั้งปริมาณและ คุณภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลเรื่องปุ๋ยให้เพียงพอ ตลอดอายุการเจริญเติบโตของอ้อย ดังนั้นจึงขอ นำเสนอการใส่ปุ๋ยตามระยะการเจริญเติบโตของ อ้อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ช่วงตามประเภทของอ้อย ที่ปลูก ดังนี้

• อ้อยข้ามแล้ง จะใส่ปุ๋ยรองพื้นเพื่อส่งเสริม การงอกและการเจริ ญเติ บโตในช่ วงแรก ใส่ ปุ๋ยครั้งที่2 ที่อายุอ้อย 4 – 5 เดือน เพื่อส่งเสริมการแตกกอ และย่างปล้อง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ที่อายุอ้อย 6 – 7 เดือน เพื่อส่งเสริมการย่างปล้อง และครั้งที่ 4 ที่ อายุอ้อย 8-9 เดือนเพื่อส่งเสริมการสะสมน้ำตาล

• อ้อยต้นฝนหรืออ้อยให้น้ำจะใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูก ใส่ครั้งที่ 2 ที่อายุอ้อย 2 – 3 เดือน ครั้ง ที่ 3 ที่อายุอ้อย 4 – 5 เดือน และครั้งที่ 4 ที่อายุ 6 – 8 เดือน

แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการเก็บตัวอย่างดินมาตรวจวิเคราะห์ก่อนเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาวางแผนทั้งชนิด ปริมาณและจำนวนครั้งในการใส่ปุ๋ย ถ้าเกษตรกรสามารถแบ่งใส่ปุ๋ยได้ตามระยะการเจริญเติบโตของอ้อย นอกจากจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้แล้วยัง ช่วยลดการสูญเสียปุ๋ยโดยใช้หลักการใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง

“ดังนั้นขั้นตอนการดูแลแปลงอ้อยนั้นมีช่วงเวลาตั้งแต่หลังปลูกจนถึงการรื้อตอเพื่อปลูกใหม่ โดยเฉพาะเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ต้องการเพิ่มผลผลิต และเพิ่มจำนวนการไว้ตอให้ได้มากขึ้น ต้องมีการดูแลแปลงอ้อยให้สมบูรณ์ตลอดช่วงเวลาที่ต้นอ้อยยังมีชีวิตอยู่”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา หรือแตนตาแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อเจริญเต็มที่มีขนาด ประมาณ 0.50 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลเหลืองขุ่น ตาสีแดง บริเวณเส้นปีกมีขนอ่อนเรียงเป็นแนวตรง แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมาทำลายไข่ของผีเสื้อต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น หนอนกออ้อย หนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนเจาะ ล้าต้น
การดูแลรักษาแปลงอ้อยโดยใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็ก อ้อยเป็นพืชที่มีการปลูกเป็นแถว มีระยะห่างระหว่างแถวตั้งแต่ 80 – 180 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งแบบร่องคู่และร่องเดี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะการเจริญเติบโตของแต่ละพันธุ์อ้อยและความอุดมสมบูรณ์ของสภาพดินและน้ำ อีกทั้งเมื่อปลูกแล้วอ้อยยังสามารถเก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง