การผลิตขยายและการใช้เชื้อราเมตาไรเซียม เพื่อการควบคุมแมลงศัตรูพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Metarhizium anisopliae

วงศ์ (Family)    :  Moniliaceae

อันดับ (Order)  :  Moniliales

ประโยชน์และความหมาย

เชื้อราเมตาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เป็นจุลินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืช เมื่อสปอร์ของเชื้อราตกลงบนลำตัวของแมลง ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสภาพความชื้นสูงจะมีการเจริญงอกเข้าไปในตัวแมลง ในระยะแรกจะเห็นจุดสีน้ำตาลบนผนังลำตัว และต่อมาสามารถมองเห็นเส้นใยสีขาวเจริญเติบโตบนลำตัวแมลง หลังจากนั้นจะพบสปอร์ลักษณะคล้ายฝุ่นสีเขียวปกคลุมทั่วตัวของแมลง หากสังเกตแมลงที่ตายพบว่าที่ลำตัวของแมลงมีลักษณะแข็ง

การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราโรคแมลง

ขั้นตอนการผลิตเชื้อราเมตาไรเซียม (อย่างง่าย)

วัสดุอุปกรณ์ :

 1. หัวเชื้อราเมตาไรเซียม

2. ข้าวสารเจ้า/ ข้าวแข็ง

3. น้ำสะอาด

4. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8×12 นิ้ว

5. ยางรัด

6. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

7. เข็มหมุด

วิธีทำ

1.  หุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ ในอัตราข้าว 3 ส่วน ต่อน้ำ 2 ส่วน เมื่อข้าวสุก  ใช้ทัพพี ซุยข้าวให้ทั่ว

2.  ตักข้าวสุก ในขณะข้าวยังร้อน เพื่อช่วยลดจุลินทรีย์จากอากาศที่อาจปนเปื้อนในถุงข้าว  ตักข้าวสุกประมาณ 2 ทัพพีครึ่งต่อถุง (250 กรัม) ในถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8×12 นิ้ว

3.  เกลี่ยข้าวให้แบนราบและรีดอากาศออกจากถุง ให้ถุงพลาสติกแนบกับข้าว เพื่อลดการเกิดหยดน้ำ จากนั้นรอให้ข้าวอุ่น จึงนำไปใส่หัวเชื้อ

4.  เปิดปากถุงให้น้อยที่สุด พอที่จะสามารถเทหัวเชื้อเมตาไรเซียมได้ แล้วใส่เชื้อลงในถุงข้าวในบริเวณที่ลมสงบ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในอากาศ ใส่หัวเชื้อเพียงเล็กน้อยประมาณ 5-10 กรัมต่อถุง

5.  รัดยางตรงปากถุงให้แน่น ก่อนที่จะเขย่าถุงข้าวเบาๆ เพื่อให้หัวเชื้อเมตาไรเซียม กระจายทั่วถุง

6.  รวบถุง ให้บริเวณปากถุงพอง ก่อนที่จะใช้เข็มแทงรอบๆ ปากถุงที่รัดยางไว้ 15-20 รู

7.  เกลี่ยข้าวในถุงให้แพร่กระจายแบนราบ และดึงบริเวณกลางถุงขึ้น เพื่อให้มีอากาศเข้าไปในถุงข้าว จากนั้นบ่มเชื้อเป็นเวลา 7 วัน โดยวางถุงเชื้อไม่ให้ทับซ้อนกัน ในห้องที่มีแสงสว่างและอากาศถ่ายเท ปลอดจากแมลงรบกวน เช่น มด ไร และสัตว์

8.  เมื่อครบ 7 วันเชื้อจะเจริญเป็นสีเขียวหม่นเต็มถุง สามารถนำไปใช้ได้ทันที หากใช้ไม่หมดควรเก็บในตู้เย็น ช่องธรรมดาได้ไม่เกิน 1 เดือน

วิธีใช้ :

ฉีดพ่น

ให้เชื้อราเมตาไรเซียม ที่เจริญในวัสดุเลี้ยงเชื้ออัตรา 270 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร กรองวัสดุเลี้ยงเชื้อด้วยผ้าขาวบาง แล้วขัดวัสดุเลี้ยงเชื้อให้สปอร์ที่ติดมาหลุดละลายลงในน้ำ พร้อมใส่สารจับใบ หรือ  น้ำยาล้างจาน ก่อนนำไปฉีดพ่นให้สัมผัสถูกกับตัวของแมลงให้มากที่สุด

ข้อควรคำนึง :

ควรฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด และฉีดพ่น 2-3 ครั้งระยะห่าง ครั้งละ 5-7 วัน

เชื้อราเมตาไรเซียม สามารถทำลายแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ อาทิ ปลวก หนอนด้วงทราย หนอนด้วงแรด หนอนด้วงเจาะลำต้นอ้อย และ ด้วงงวง เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ Kubota มีนวัตกรรมใหม่มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก คือ Kubota Self-Learningเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางด้านการเกษตรแบบใหม่ที่จัดแสดงอยู่บนตู้คอนเทรนเนอร์ซึ่งสามารถนำไปได้ทุกที่ โดยมีจุดเด่นคือผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้ผ่านจอแสดงผลได้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ในงานต่างๆที่จัดโดยบริษัทสยามคูโบต้า
ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายหันกลับมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในนาข้าว โดยอาศัยหลักการพึ่งพากันของธรรมชาติ เกิดองค์ความรู้จากการสังเกตว่า พืชผักใบเขียวในส่วนยอดอ่อนๆ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ในปริมาณมาก เมื่อนำมาหมักให้เ
ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคใต้ 7. ชุดดินรือเสาะ (Rusoseries : Ro) กลุ่มชุดดินที่ 32 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำหรือสันดินริมน้ำ สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว