ชนิดของพันธุ์ข้าว

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามการตอบสนองต่อช่วงแสง 

  • พันธุ์ข้าวไวต่อแสง (Photoperiod Sensitive Varieties)   

เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสง หรือช่วงเวลากลางวันสั้นเพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตของลำต้นและใบมาเป็นการเจริญทางการสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด โดยข้าวจะสร้างช่อดอกเมื่อช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง เช่น ขาวดอกมะลิ105, กข15, ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก1, กข45   

  • พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง (Insensitive Varieties)   

เป็นพันธุ์ข้าวที่ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างช่อดอก พันธุ์ข้าวนี้จะออกดอกและเก็บเกี่ยว ตามอายุของแต่ละพันธุ์ค่อนข้างแน่นอน แบ่งเป็นข้าวพันธุ์เบา พันธุ์กลาง พันธุ์หนัก ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิสะสมซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีความต้องการไม่เท่ากัน เช่น ข้าวปทุมธานี1, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1, ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี, ข้าวกข 33,  สุรินทร์1 

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามนิเวศการปลูกข้าว

  • ข้าวไร่ เป็นข้าวที่มีการปลูกแบบพืชไร่ ไม่มีน้ำขัง ไม่มีคันนาเก็บกักน้ำในพื้นที่ปลูกตลอดระยะการเจริญเติบโตของข้าว มักอาศัยน้ำฝน และเป็นที่ดอน  
  • ข้าวนาสวนนาน้ำฝน เป็นข้าวที่ปลูกในสภาพที่มีน้ำขัง มีคันนาสำหรับเก็บกักน้ำ อาศัยน้ำฝนในการเจริญเติบโตของข้าว ระดับน้ำไม่สูงกว่า 50 เซนติเมตร 
  • ข้าวนาสวนนาชลประทาน ปลูกในสภาพมีน้ำขัง สามารถควบคุมระดับน้ำได้  
  • ข้าวน้ำลึกและข้าวขึ้นน้ำ เป็นข้าวที่ปลูกในสภาพพื้นที่ซึ่งระดับน้ำสูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงระดับไม่เกิน 100 เซนติเมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน เรียกว่าข้าวน้ำลึก ส่วนข้าวที่ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับลึกมากกว่า100 เซนติเมตร โดยที่ความสูงของต้นข้าวสามารถเปลี่ยนแปลงตามระดับน้ำเรียกว่า ข้าวขึ้นน้ำ 

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามคุณภาพเมล็ดข้าวทางเคมี (Chemical Quality of Rice)

ปริมาณอมิโลส (Apparent amylose – content)    ข้าวอมิโลสต่ำ เป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลส 10 – 19% เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกจะนุ่มเหนียว ได้แก่ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105, กข15, กข21, ปทุมธานี 1, ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1, ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี, และข้าวสังข์หยดพัทลุง ฯลฯ 

ข้าวอมิโลสปานกลาง เป็นข้าวที่มีอมิโลส  20 – 25%  เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกค่อนข้างนุ่มเหนียวเล็กน้อย ได้แก่ ข้าวพันธุ์กข7, กข23, สุพรรณบุรี 60, ขาวปากหม้อ, ขาวตาแห้ง 17, สุพรรณบุรี 2, เล็บนกปัตตานี   

ข้าวอมิโลสสูง เป็นข้าวที่มีปริมาณอมิโลส มากกว่า 25% เมื่อหุงต้มลักษณะข้าวสุกจะร่วนค่อนข้างแข็ง ได้แก่ ข้าวพันธุ์ นางพญา 132, กู้เมืองหลวง,  แก่นจันทร์, กันตัง, เฉี้ยงพัทลุง, ชัยนาท 1,  กข5, กข1,  กข13,  ลูกแดงปัตตานี, ปทุมธานี 60,  สุพรรณบุรี 1, สุพรรณบุรี 90       

การแบ่งพันธุ์ข้าวตามการตลาดสินค้าเกษตร  

บทความที่เกี่ยวข้อง

สมบัติของดินที่เหมาะสม – ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย – มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี – ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง – ค่าความเป็นกรด – ด่าง 5.5 – 7.0 (ถั่วเหลือง ถั่วเขียว) และ 5.5 – 6.0 (ถั่วลิสง)
ชุดดินที่สำคัญที่ใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ภาคใต้ 8 ชุดดินท่าแซะ (Tha Saeseries : Te) กลุ่มชุดดินที่ 34 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณตะพักลำน้ำ สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans การระบาด 1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์ 2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง ลักษณะอาการ ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบ