ข้าวพันธุ์ กข 6

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ :
ปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลเรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105´65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศ ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี

การรับรองพันธุ์ : กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์ :

  1. เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 ซม.
  2. ไวต่อช่วงแสง
  3. ทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียว
  4. เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
  5. อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายน
  6. ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
  7. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.9 x 2.7 x 2.0 มม.
  8. เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.2 x 1.7 มม.
  9. คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต : เฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น :

  1. ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง
  2. คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม
  3. ลำต้นแข็งปานกลาง
  4. ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
  5. คุณภาพการสีดี

ข้อควรระวัง :

  1. ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้
  2. ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือการดำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ (seed) ให้ยาวนานออกไป ฉะนั้นในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายประการ แต่โดยทั่วไปอาจสรุปได้ 2 ประการ คือ 1.ปัจจัยภายใน 1.1 ชนิดของเมล็ดพันธุ์(species)
ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเพื่อรักษาความอุดมสมบูณ์ของดินให้เหมาะสมกับการใช้ปลูกข้าวอินทรีย์ดังนี้ 1.ไม่เผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุอินทรีย์ในแปลงนา เพราะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ 2.ไม่นำชิ้นส่วนของพืชที่ไม่ใช้ประโยชน์โดยตรงออกจากแปลงนา แต่ควรนำวัสดุอินทรีย์จากแหล่งใกล้เคียงใส่แปลงนาให้สม่ำเสมอทีละเล็กละน้อย