วิธีแก้ปัญหาหนอนกระทู้ในนาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

มันมาอีกแล้ว” พื้นที่นาข้าวที่กำลังเขียวขจีในฤดูนาปลังปีนี้ เป็นทุ่งนาแห่งความ หวังของพี่น้องชาวนา หลังจากผ่านวิกฤติน้ำท่วมจากปลายปีที่แล้ว แต่การกลับมาของศัตรูตัวร้ายอันดับต้นๆ ของข้าว ทำให้เกษตรกรหลายคนถึงกับผวาแต่อยากบอกว่าเรามีทางป้องกันและแก้ไข ที่ไม่ยากเกินไปสำหรับเกษตรกรชาวนามืออาชีพ

วิธีการทางชีวภาพที่ปลอดภัย ได้ผล ไม่ต้องทนดมสารเคมีให้ชีวีหดสั้นลง

อัตราส่วนผสม : หางไหล 2 กิโลกรัม, บอระเพ็ด 3 กิโลกรัม, หนอนตายอยาก 2 กิโลกรัม, ตะไคร้หอม 3 กิโลกรัม, สาบเสือ 3 กิโลกรัม, ใบสะเดา 3 กิโลกรัม, ใบยูคาลิปตัส 3 กิโลกรัม, ยาสูบ 0.5 กิโลกรัม, กระเทียม 1 กิโลกรัม, กากน้ำตาล 500 มิลลิลิตร, สารเร่ง พด.7 1 ซอง (อัตราส่วนข้างต้นสามารถที่จะเพิ่มหรือลดได้ตามความเหมาะสมไม่ตายตัว แต่สมุนไพรที่ใช้หมักอย่างน้อยควรมี 5 ชนิดขึ้นไป เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีความเข้มข้น)

วิธีทำ

1) บด/สับ/ตำ สมุนไพรทั้งหมดที่เตรียมไว้ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ยิ่งชิ้นส่วนมีขนาดเล็กก็จะได้น้ำสกัดที่เข้มข้น และสามารถนำไปใช้ได้เร็วขึ้น

2) นำสมุนไพรที่เตรียมไว้ในข้อที่ 1 บรรจุในภาชนะที่มีฝาปิดเช่น ถังพลาสติก และโอ่ง แล้วนำกากน้ำตาล 500 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร เติมลงไปในภาชนะที่ใส่สมุนไพรไว้ (อัตรานี้สำหรับการหมักสมุนไพรที่มีน้ำหนักรวมประมาณ 30 กิโลกรัม ก็ต้องการหมักมากกว่านี้ต้องเพิ่มน้ำ และกากน้ำตาลเข้าไปอีก) แล้วใส่สารเร่ง พด.7 เพื่อเร่งให้สารสกัดหมักได้เร็วขึ้น และสกัดสารสำคัญจากพืชได้มากขึ้น จากนั้นคนให้เข้ากันอีกครั้ง แล้วกดให้ชิ้นส่วนสมุนไพรจมน้ำตลอดเวลา โดยใช้ไม้ไผ่สานขัดทับไว้

3) เก็บไว้ในที่ร่ม อุณหภูมิห้อง คนวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หมักนาน 7 – 10 วัน เริ่มนำไปใช้ได้ โดยน้ำสกัดที่ได้คือ “หัวเชื้อ” ต้องนำไปเจือจางก่อนใช้งาน

อัตราการใช้

อัตราปกติ 20 – 50 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้โชกชุ่มทั่วทั้งแปลงนาทุก 3 – 5 วัน (หัวเชื้อใหม่ๆ มีสารออกฤทธิ์แรงมาก) การใช้อัตราเข้มข้นเกินไป อาจทำให้ใบไหม้ ดังนั้นจึงควรทดลองใช้กับพืชตัวอย่าง 2 – 3 ต้น ก่อน 1 – 2 ครั้ง แล้วสังเกตดูอาการพืช หากใบพืชมีอาการไหม้ หรือเหี่ยวเฉา ให้ลดปริมาณหัวเชื้อลง หรือถ้าแมลงยังคงระบาดอยู่ให้พิจารณาเพิ่มหัวเชื้อ อัตราใช้ปรับเพิ่มลดลงตามความเหมาะสม

สารชีวภาพอาจเห็นผลได้ช้ากว่าสารเคมีแต่ ประหยัดค่าใช้จ่าย ปลอดภัยต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการกำจัดศัตรูพืชที่ยั่งยืน หนอนกระทู้จะไม่เกิดการดื้อยา ระงับการเข้าดักแด้ และทำให้หนอนกระทู้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ต่อไปในฤดูกาลเพาะปลูกหน้า จำนวนก็จะลดลง และไม่ส่งผลต่อนาข้าวอีก จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการกำจัดเจ้าตัวร้ายที่ทำลายข้าวของเกษตรกร

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกวันนี้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกำลังเผชิญกับต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง เนื่องจากค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากค่าพันธุ์อ้อย ค่าจ้างแรงงานในการปลูกและใส่ปุ๋ย ดังนั้น สยามคูโบต้าจึงได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอ้อยแบบร่องกว้าง เพื่อสามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเข้าไปดูแลไร่อ้อยได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต ซึ่งนอกจาก
การใช้แหนแดงแห้งทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผัก ให้ธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชตระกูลถั่ว ตอบโจทย์ด้านเกษตรครบวงจร เข้าทางเกษตรอินทรีย์ นำไปผสมกับวัสดุปลูกช่วยต้นกล้าโตไว แถมเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเหมาะเป็นอาหารสัตว์ช่วงแล้งขาดแคลนหญ้า แหนแดง เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในการผลิตพืช
ระบาดรุนแรง ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในเขตชลประทานหรือพื้นที่นา ทำให้ผลผลิตเสียหาย 30 – 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ CCS ลดลง โดยโรคเหี่ยวเน่าแดง เกิดจากการทำลายของเชื้อรา 2 ชนิด คือ Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum เชื้อ Fusarium moniliforme อยู่ในดิน สามารถ