KAS เกษตรครบวงจร คำตอบที่ใช่ ให้เกษตรชีวิตดี

KAS เกษตรครบวงจร นวัตกรรมเกษตรรูปแบบใหม่จากคูโบต้า ที่เชื่อมองค์ความรู้การทำเกษตร เข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่แม่นยำและใช้ได้จริง เพื่อให้เกษตรกรและคนที่สนใจทำเกษตรสามารถนำไปปรับใช้ วางแผนแนวทางการทำเกษตรในรูปแบบของตัวเอง ช่วยให้ทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกสบายขึ้น ด้วยสินค้านวัตกรรมจากคูโบต้า อย่างโดรนการเกษตร ตัวช่วยในการบำรุงรักษาพืช เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทำงานได้ไว คุณภาพการฉีดพ่นสม่ำเสมอ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีให้กับเกษตรกร

แค่เริ่มใช้ KAS Crop Calendar แอปพลิเคชันก็เริ่มทำเกษตรได้อย่างแม่นยำ ด้วยนวัตกรรมที่ช่วยให้เกษตรกรรู้ทันสภาพอากาศ สามารถเช็กพยากรณ์อากาศประจำวัน และพยากรณ์อากาศล่วงหน้า ลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่กระทบการเพาะปลูก เพื่อนำข้อมูลมาวางแผน และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นแอปฯ ที่แนะนำให้เกษตรกรมีติดมือถือไว้ ตอบโจทย์ชีวิตเกษตรกรยุคดิจิทัล

ควบคุมต้นทุนการเพาะปลูกได้ดั่งใจ ด้วย KAS Crop Calendar แอปพลิเคชัน เกษตรกรสามารถบันทึกรายรับ-รายจ่ายจากการเพาะปลูก จึงสามารถคำนวนต้นทุน และประมาณการความคุ้มค่าที่ได้รับ จนนำไปสู่การใช้ต้นทุนที่เหมาะสม

กำหนดรูปแบบการทำเกษตรในแบบของตัวเองได้ ด้วยปฏิทินการเพาะปลูก (KAS Crop Calendar) และ 48 เทคนิคการเพาะปลูก ที่ครอบคลุมหลากหลายพืช สร้างมาตรฐานใหม่ในการเพาะปลูกให้กับเกษตรกรยุคดิจิทัล ช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพ รายได้มั่นคง และหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ และผลักดันไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน

Tag:

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : มอดดิน (Ground Weevil) รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็มวัยของมอดดินเป็นด้วงงวงขนาดเล็ก เป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวป้อม ผิวขรุขระมีสีดำปนน้ำตาล และเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ยประมาณ 2.2 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ในดินบริเวณที่มีต้นพืช ไข่มีลักษณะกลมรี
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อราในสภาพพื้นที่ ที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์มันสำปะหลังที่อ่อนแอ เช่น ระยอง 72 หรือ ระยอง11 ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่ น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30 – 40%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถือเป็นพืชไร่อันดับต้นๆที่นิยมปลูกในประเทศไทย และนอกจากนั้นไทยยังเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศที่มีความสามารถในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูก