วิธีปลูกหญ้าเนเปียร์ให้ “โตไว สร้างผลผลิตต่อเนื่อง” เคล็ดลับคืออะไร?

“หญ้าเนเปียร์” รู้จักกันดีว่าเป็น ‘สุดยอดอาหาร’ สำหรับโคนม โคเนื้อ แพะ แกะ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ลำต้นใบใหญ่ เติบโตเร็วผลผลิตเยอะ ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้ทั้งปี ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้อย่างมหาศาล

…แต่ประโยชน์ของหญ้าเนเปียร์ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ เพราะหญ้าชนิดนี้นำไปผลิตเป็น Biomass หรือ พลังงานชีวมวล ใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าทดแทน หมุนเวียนใช้ได้ไร้ข้อจำกัด ไม่ลดทอนทรัพยากรโลก เกษตรกรท่านใดคิดจะปลูกหญ้าเนเปียร์อยู่เป็นทุนเดิม บทความนี้จะมาช่วยให้คุณเริ่มต้นได้ง่ายขึ้นและเพิ่มผลผลิตหญ้าเนเปียร์ให้คุณได้มากขึ้น แต่ก่อนอื่นเรามาดูข้อดีโดยรวมของหญ้าเนเปียร์กันก่อนดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของ‘หญ้าเนเปียร์’

  1. ปลูกได้ทั้งปี ได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย
  2. ดูแลไม่ยาก ปลูกได้ในดินทุกประเภททนแล้งได้ดี แต่ไม่ชอบพื้นที่น้ำขัง
  3. แตกกอง่าย ผลผลิตเยอะ เก็บเกี่ยวได้ทั้งปี
  4. ลงทุนน้อย ให้กำไรงาม นำไปเลี้ยงสัตว์ หรือขายส่งโรงงานผลิตพลังงานชีวมวลได้
  5. ผลผลิตยาวนานถึง 10 ปี (ขึ้นอยู่กับการดูแล บำรุงรักษา)
  6. โภชนาการสูง โปรตีนสูง เหมาะสำหรับเป็นอาหารให้สัตว์ในฟาร์ม
  7. ป้องกันการชะล้างหน้าดินผลิตเป็นพลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานสีเขียว พลังงานสะอาด

“ปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผลผลิตดีเต็มที่”

หญ้าเนเปียร์มีประโยชน์มากมายเกษตรกรไทยจึงเริ่มให้ความสนใจในการปลูกหญ้าเนเปียร์ แต่ปัญหาของการปลูกด้วยวิธีการปลูกในปัจจุบัน (ใช้แรงงานคน) ยังมีข้อจำกัดในการปลูกซึ่งทำให้การงอกของหญ้าเนเปียร์ไม่สม่ำเสมอ  เพราะต้นที่วางอาจมี ความตื้น ความลึก ระยะห่าง ที่แตกต่าง รวมถึง การกลบท่อนพันธุ์ ที่หากกลบไม่สม่ำเสมอ ‘ท่อนพันธุ์จะแห้งและตาย’ มีอัตราการงอกอยู่ที่ 70% เท่านั้น และเมื่อเก็บเกี่ยว ต้นอาจไม่สม่ำเสมอกัน สังเกตได้จากภาพตัวอย่างด้านล่างนี้

เคล็ดลับการปลูกหญ้าเนเปียร์

เคล็ดลับของการปลูกหญ้าเนเปียร์ให้ทันยุคสมัยที่เทคโนโลยีรุดหน้าในปัจจุบัน นั่นคือการใช้

‘เครื่องจักรกลการเกษตร’

‘เครื่องจักรกลการเกษตร’ ผู้ช่วยปลูกหญ้าเนเปียร์ครบวงจร

อยากปลูกหญ้าเนเปียร์ให้เต็มประสิทธิภาพ ต้องรู้จักเครื่องจักรกลการเกษตร 2 ประเภทนี้

1.    แทรกเตอร์ MU-Series และ L-Series

แทรกเตอร์ MU-Series และ แทรกเตอร์ L-Series จาก KUBOTA ตอบโจทย์การปลูกหญ้าเนเปียร์ครบวงจร ตั้งแต่การปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว โดยสามารถใช้งานคู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงได้ในขั้นตอนดังนี้

  1. การระเบิดดินดาน
  2. การไถบุกเบิก
  3. การไถพรวน
  4. การปลูก
  5. การใส่ปุ๋ย
  6. การกำจัดวัชพืช
  7. การเก็บเกี่ยว

2.    เครื่องปลูกอ้อยตราช้าง รุ่น SP621 สำหรับ MU series

เครื่องปลูกอ้อยตราช้าง รุ่น SP621 นอกจากจะใช้ในการปลูกอ้อยแล้ว ยังสามารถนำมาปลูกหญ้าเนเปียร์ได้อีกด้วย การทำงานของเครื่องจะช่วยวางท่อนพันธุ์หญ้าเนเปียร์ด้วยความลึกที่เหมาะสมและแม่นยำ ลดปัญหาต้นหญ้าเนเปียร์เน่าเสีย เจริญเติบโตสม่ำเสมอโดยมีทั้งระบบแถวเดี่ยวและแถวคู่

“แค่เปลี่ยนก็เพิ่มผลผลิตหญ้าเนเปียร์ถึง 30% “

เครื่องปลูกอ้อย สามารถเข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิต ด้วยการวางต้นที่ ‘สม่ำเสมอ’ ช่วยให้รากแข็งแรงดูดซึมธาตุอาหารได้มากและยึดเกาะดินได้ดีกว่า จะเห็นได้จากภาพที่ใช้แรงงานคน เทียบกับใช้เครื่องปลูกอ้อยตราช้าง SP621 ดังนี้

ในด้านของผลผลิต เพิ่มสูงขึ้น 30% ให้ผลผลิตได้มากกว่า กอสวย แตกกอดี เป็นระเบียบ ซึ่งเปรียบเทียบภาพผลผลิตการแตกกอได้ดังนี้

โดยผลลัพธ์จะเห็นได้จากรูปเปรียบเทียบแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ก่อนเก็บเกี่ยวระหว่างแปลงที่ปลูกโดยแรงงานคน กับแปลงที่ปลูกโดยเครื่องปลูกอ้อยตราช้าง SP621 แบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ ผลลัพธ์พบว่าแปลงที่ใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้ผลผลิตหญ้าเนเปียร์ที่มากกว่า

หมายเหตุ: การวางแถวเดี่ยว แถวคู่ของเครื่องปลูกอ้อยตราช้างไม่ได้มีความแตกต่างเป็นนัยยะสำคัญในด้านผลผลิต ความแตกต่างอยู่ที่ปริมาณต้นที่มากกว่า แต่จำนวนแถวน้อยกว่า เพราะมีระยะห่างมากขึ้น จึงทำให้หญ้าเนเปียร์ไม่แย่งสารอาหารกันเอง

แปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ทั่วไป
แปลงเครื่องปลูกอ้อยตราช้าง SP621 แถวเดี่ยว
 
แปลงเครื่องปลูกอ้อยตราช้าง SP621 แถวคู่

สิ่งที่ต้องรู้ของการปลูกหญ้าเนเปียร์ นอกเหนือจากเครื่องจักรกลการเกษตร

  1. ระยะปลูกหญ้าเนเปียร์ขึ้นอยู่กับสภาพดิน การดูแลรักษา และขนาดแทรกเตอร์ที่เลือกใช้
  2. ดินและปุ๋ยที่เหมาะสมกับการปลูก สามารถเป็นดินร่วน ดินร่วนทราย หรือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลสัตว์
  3. หญ้าเนเปียร์ไม่ชอบน้ำขัง ควรปรับพื้นที่ให้เรียบสม่ำเสมอ
  4. หญ้าเนเปียร์ต้องการน้ำฝน 1,300 – 1,500 มิลลิเมตร/ ปี
  5. หากมีน้ำชลประทานสามารถเก็บเกี่ยวหญ้าเนเปียร์ได้ถึง 5 – 6 รอบต่อปี

การบำรุงรักษาหญ้าเนเปียร์

การบำรุงรักษาหญ้าเนเปียร์ควรทำอย่างน้อย 3 – 4 ครั้งต่อปี ด้วยปุ๋ยและน้ำที่เหมาะสมกับแปลงหรือพื้นที่ รวมถึงการทำพูนเพื่อป้องกันต้นหญ้าเนเปียร์ล้มหรือถูกชะล้างไปในขณะที่ต้นยังเล็กระหว่างการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร

ในส่วนของ ปุ๋ย สามารถใช้ปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ใส่ปุ๋ยคอกทันทีหลังตัด
  2. หลังแตกหน่อ 1 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมี อัตรา 10 – 20 กิโลกรัม/ ไร่
  3. หลังเก็บเกี่ยว 1 ปี ให้สลับสูตรปุ๋ยเป็น 15 – 15 – 15

กรณีที่พื้นที่มีแหล่งน้ำ สามารถวางระบบน้ำได้ ถ้าหากหญ้าเนเปียร์ได้รับน้ำสม่ำเสมอ จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 30 – 40%

ข้อปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวหญ้าเนเปียร์

ไม่ว่าจะนำหญ้าเนเปียร์ไปเป็นอาหารแก่สัตว์ในฟาร์มหรือส่งมอบโรงงานไบโอแก๊ส ควรทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 วัน เพราะหญ้าเนเปียร์เน่าเสียได้รวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในวิธีการรักษาคือการทำให้แห้ง แต่ทั้งนี้ความน่ารับประทานก็อาจลดลง ซึ่งสัตว์ในฟาร์มอาจไม่รับประทานได้

ถึงเวลา ‘เปลี่ยน’ การปลูกหญ้าเนเปียร์เดิม ๆ สู่วิถีการปลูกด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร

เกษตรกรหลายท่านอาจยังไม่ทราบถึงการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้ร่วมกับการปลูกหญ้าเนเปียร์มาก่อน ซึ่ง KAS หวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะช่วยให้อุตสาหกรรมเกษตรของไทย โดยเฉพาะการปลูกหญ้าเนเปียร์ สามารถรุดหน้า พัฒนาได้รวดเร็วเท่าทันโลก

ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อ สุดยอดตัวช่วยปลูกหญ้าเนเปียร์ แทรกเตอร์ L-Series, MU-Series และ เครื่องปลูกอ้อยตราช้าง SP621 กับ KUBOTA

เริ่มยกระดับการปลูกหญ้าเนเปียร์ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ด้วย แทรกเตอร์ L-Series, MU-Series และ เครื่องปลูกอ้อยตราช้าง SP621 กับ KUBOTA ทดลองขับได้ฟรี! คลิกที่นี่ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านช่องทางดังนี้

*ข้อมูลการทดลองในปลูกหญ้าเนเปียร์​ ณ พื้นที่ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี ปี 2565 – 2566

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ฝ้าย ทานตะวัน กล้วย กระเทียม ขิง มันเทศ พริก พืชตระกูลกะหล่ำ พืชตระกูลแตง และพืชผัก เป็นต้นวงจรชีวิตหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลา 30-40 วัน
ในยุคปัจจุบันที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น อาหารที่มีประโยชน์เป็นหัวข้อที่ทุกคนใส่ใจรวมไปถึงวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหาร หญ้าหวาน คือวัตถุดิบชั้นเลิศที่ถูกนำมาใช้ในการประกอบอาหารและแปรรูปเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้มีปัญหาเรื่องความดัน หรือ ผู้ต้องการควบคุม
ปฏิทินการปลูกข้าวนาปี 2567 มีกำหนดการอย่างไรบ้าง เริ่มเดือนไหน? ปลูกอะไรดี? ทั้งหมดนี้ KUBOTA (Agri) Solutions จะมาสรุปให้ฟัง พร้อมกับแจกปฏิทินการปลูกข้าวนาปี 2567 ให้ฟรี! เพื่อให้การวางแผนปลูกข้าวให้งอกเงยอย่างที่หวัง และทันเก็บเกี่ยวอย่างแน่นอน