ผ้าใบคอนกรีตสำหรับคลองส่งน้ำ

เราจะสร้างคลองส่งน้ำ ที่ป้องกันปัญหาน้ำกัดเซาะได้อย่างไร ?

ปัจจุบันเกษตรกรมักจะทำร่องน้ำสำหรับส่งน้ำเข้าไปยังแหล่งกักเก็บน้ำ โดยการขุดแนวดินเป็นร่อง แต่วิธีการนี้อาจจะโดนน้ำกัดเซาะจนดินพังทลาย ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้างร่องน้ำปูนซีเมนต์ แต่หากพื้นที่ของเกษตรกรมีทางเข้าที่แคบไป เครื่องจักรก็ไม่สามารถเข้าไปทำงานได้อีก ดังนั้นคูโบต้า จึงขอเสนอวิธีการที่ง่ายกว่านั้น คือ การสร้างร่องน้ำด้วยการใช้ผ้าใบคอนกรีตสำหรับคลองส่งน้ำ ทำง่าย สะดวก รวดเร็ว และสามารถติดตั้งในพื้นที่ที่เครื่องจักรหรือรถขนปูนเข้าไปไม่ถึงได้อีกด้วย

ผ้าใบคอนกรีตเอสซีจีผลิตจากซีเมนต์และใยสังเคราะห์ แข็งแรง คงทน ซึมน้ำตามคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ ติดตั้งง่ายเพียง 4 ขั้นตอนเท่านั้น

ขั้นตอนแรก ปรับพื้นผิวในพื้นที่การใช้งานให้เรียบและแน่น เพื่อให้พร้อมสำหรับปูผ้าใบคอนกรีต

ขั้นตอนที่ 2 ปูผ้าใบคอนกรีตโดยมีระยะซ้อนทับ 10 เซนติเมตร  สามารถปรับเปลี่ยนผ้าใบคอนกรีตให้เป็นไปตามรูปแบบของพื้นผิวที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 3 ยึดผ้าใบคอนกรีตระหว่างกัน  ด้วยปูนซีเมนต์ผสมน้ำ และหมุด หรือตะขอยึด

และขั้นตอนสุดท้าย รดน้ำลงบนผ้าใบคอนกรีตให้ชุ่ม รอระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ผ้าไปคอนกรีตจะแข็งตัวพร้อมใช้งาน 

วิธีการนี้ช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานมากกว่าการใช้คอนกรีตถึง 2 เท่า และสามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปี

นอกจากทำร่องน้ำ คูน้ำ และรางระบายน้ำแล้ว  เกษตรกรยังสามารถสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อทำประโยชน์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

หมดกังวลเรื่องน้ำกัดเซาะ เพาะปลูกกันได้อย่างสบายใจเลยครับ

หากเกษตรกรท่านใดสนใจตัวช่วยในการทำการเกษตรดี ๆ แบบนี้ สามารถติดต่อเยี่ยมชมได้ที่คูโบต้าฟาร์ม ลงทะเบียนเข้าชม คลิกเลย

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งานก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
พื้นที่ทำกินมีจำกัด จะจัดสรรอย่างไรดี ?
ระบบจัดการน้ำที่ดีเป็นอย่างไร จะช่วยแบ่งเบาภาระการรดน้ำในแปลงอ้อยหลายร้อยไร่ได้ขนาดไหน บทความนี้มีคำตอบ