เกษตรทฤษฎีใหม่ คืออะไร? หลักการเกษตรยั่งยืนของเกษตรกรไทย

เกษตรทฤษฎีใหม่ คืออะไร? หลักการเกษตรยั่งยืนของเกษตรกรไทย

เกษตรทฤษฎีใหม่ แนวคิดการเกษตรตามรอยพระราชดำริ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยทำงานน้อยลง แต่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น พออยู่ พอกิน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งบทความนี้ KAS (KUBOTA (Agri) Solutions) จะมาอธิบายเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ว่าคืออะไร ต้องทำแบบไหน มีข้อดีอย่างไร
จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย

เกษตรทฤษฎีใหม่ คืออะไร

เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ แนวคิดการบริหารจัดการที่ดินทางการเกษตรขนาดเล็กประมาณ 10-20 ไร่
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ 30/30/30/10 ซึ่งจะแบ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำ ปลูกข้าว ปลูกพืชผักผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และที่อยู่อาศัย ทำให้เกษตรกรมีพื้นที่ในการทำเกษตรแบบครบถ้วน มีผลผลิตให้เก็บกินตลอดทั้งปี สามารถพึ่งพาอาศัยตัวเองในการดำเนินชีวิต

รายละเอียดพื้นที่ 4 ส่วนของเกษตรทฤษฎีใหม่

พื้นที่ 4 ส่วนของเกษตรทฤษฎีใหม่มีดังนี้

1. สระกักเก็บน้ำ

น้ำ คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเพาะปลูก เกษตรทฤษฎีใหม่จึงให้ความสำคัญกับน้ำเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ควรมีการคำนวนต้นทุนน้ำ และความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ เพื่อการขุดสระกักเก็บน้ำตามขนาดที่เหมาะสม โดยทั่วไปสามารถใช้พื้นที่ 30% ขุดสระกักเก็บน้ำ เพื่อช่วยกักเก็บน้ำฝนให้มีเพียงพอต่อการเพาะปลูกทั้งปี และยังสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลา, กบ, หอย, ปู ฯลฯ ช่วยให้เกษตรกรมีเนื้อสัตว์เพิ่มเติมไว้บริโภค
ในครัวเรือน

สระกักเก็บน้ำเกษตรทฤษฎีใหม่

2. แปลงปลูกข้าว

ข้าว คือ อาหารหลักของคนไทยที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เกษตรทฤษฎีใหม่จึงเห็นควรให้ใช้พื้นที่ 30% ในการเพาะปลูกข้าวในฤดูฝน ส่วนฤดูอื่นให้ปรับปรุงคุณภาพดินเตรียมความพร้อมในการเพาะปลูก
ครั้งถัดไป เพื่อที่จะได้ข้าวที่มีคุณภาพดี ในปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน และเก็บสะสม
ไว้สำรองเพื่อรับประทานได้ตลอดปี

3. เพาะปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก

พืชผักผลไม้มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งสามารถนำมาบริโภคคู่กับข้าวเพื่อสร้างรสชาติที่หลากหลาย เกษตรทฤษฎีใหม่จึงแนะนำให้ใช้พื้นที่ 30% ในการเพาะปลูกพืชให้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ พืชไร่ หรือ สมุนไพร ให้เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ร่างกายแข็งแรง 

4. ที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ

เกษตรทฤษฎีใหม่ ได้จัดสรรที่อยู่อาศัยบนพื้นที่ 10% สุดท้ายเพื่อเป็นที่พักอาศัยให้เกษตรกรพักผ่อน
ฟื้นคืนเรี่ยวแรง และสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น คอกเลี้ยงสัตว์ โรงเก็บผลผลิต
เรือนเพาะชำ ฯลฯ โดยจัดแบ่งได้ตามความเหมาะสมในพื้นที่ของเกษตรกร ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลผลิตเพิ่มเติม สามารถเก็บไว้กินภายในครัวเรือน แลกเปลี่ยนกับผลผลิตอื่น ๆ ของเพื่อนบ้าน ขายต่อเพื่อสร้างผลกำไร ช่วยให้ความเป็นอยู่ของเกษตรดีขึ้น

นอกจากวิธีการจัดสรรค์พื้นที่ที่ได้อธิบายไปเบื้องต้นแล้ว เกษตรทฤษฎีใหม่ยังมีแนวคิดของการรวมตัวเพื่อสร้างชุมชนที่แข็งแรง และสามารถต่อรองกับภาครัฐหรือเอกชนในเรื่องของราคาสินค้า รวมไปถึง
หาแหล่งเงินทุนในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

เลี้ยงสัตว์เกษตรทฤษฎีใหม่

ข้อดีของ เกษตรทฤษฎีใหม่

4 ข้อดีของเกษตรทฤษฎีใหม่ มีดังนี้

1. เพิ่มปัจจัยการดำรงชีวิตให้ครบรอบด้าน อาหาร ความเป็นอยู่ การทำอาชีพ

เกษตรทฤษฎีใหม่ จะช่วยให้เกษตรกรมีปัจจัยการดำรงชีวิตครบถ้วนสมบูรณ์ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นอาหาร พืชผัก เนื้อสัตว์ หรือที่อยู่อาศัย ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรลดพึ่งพาปัจจัยภายนอกจากภาคเอกชนหรือ
ภาครัฐ สามารถดำรงชีพได้ด้วยตนเองตามหลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียง 

2. ลดความเสี่ยงภัยหน้าแล้ง

เกษตรทฤษฎีใหม่ จะช่วยให้เกษตรกรเพาะปลูกได้แม้กระทั่งในหน้าแล้งที่ขาดน้ำ โดยจะปล่อยน้ำจากสระ
เข้าสู่แปลงเพาะปลูก ช่วยให้พืชเติบโตขึ้นได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำที่กรมชลประทานจัดสรรให้ ซึ่งบางที
อาจจะไม่เพียงพอต่อพื้นที่เพาะปลูก ส่งผลมากมายต่อพืชไม่ว่าจะเป็น หยุดการเติบโต แห้งตาย ผลผลิตไม่มีคุณภาพ เป็นต้น

3. ผลผลิตเหลือ สามารถขายเพิ่มกำไรได้

เกษตรทฤษฎีใหม่ มีการจัดสรรพื้นที่ในการสร้างผลผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันภัยแล้ง ที่สร้างผลผลิตได้น้อยไม่เพียงพอรับประทานในครัวเรือน ทำให้บางปีที่ฝนตกต้องตามฤดูมักจะมีผลผลิต
ที่หลงเหลือ เกษตรกรสามารถนำไปขายเพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น

สินค้าเกษตรทฤษฎีใหม่
ขอบคุณภาพจาก: กรมการทหารสื่อสาร

4. แบ่งจัดสรรพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ปล่อยทิ้งรกร้าง เสียคุณค่า

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวคิดการจัดสรรที่ดินในทุกส่วนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินทุกตารางวา
ต้องสามารถสร้างคุณค่าให้กับเกษตรกร แม้กระทั่งที่อยู่อาศัยก็สามารถปลูกพืชผักสวนครัว
และเลี้ยงสัตว์บก ซึ่งสามารถนำมารับประทาน หรือขายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมให้เกษตรกร

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ แนวคิดการเกษตรที่ช่วยดึงประสิทธิภาพของที่ดินให้ออกมาได้สูงสุด ช่วยให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ
หรือเอกชน ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่
KUBOTA FARM โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ คลิกเลย หรือ ชมผ่านระบบออนไลน์แบบ 360 องศา ได้เลย ที่นี่

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฟ้าทะลายโจร (Kariyat, The Creat) สำหรับในประเทศไทยมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น หญ้ากันงู เมฆทะลายฟ้าสะท้าน สามสิบดี ฟ้าสาง หรือน้ำลายพังพอน ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีรสขมทุกส่วน กิ่งใบเป็นสี่เหลี่ยม ใบมีสีเขียวเข้มผิวมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบ
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 1.การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย