ทำนา…ได้มากกว่าข้าว

ทำนาอย่างไร ไม่ได้แค่ข้าว แต่ยังได้ปลาไว้กินด้วย?

นอกจากเกษตรกรจะทำนาปลูกข้าวแล้ว ในพื้นที่นายังสามารถจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์
ได้มากขึ้นด้วยการเลี้ยงปลา การทำนาแบบนี้ไม่เพียงได้แค่ข้าว แต่ยังได้ปลาไว้กิน ไว้ขาย
ทั้งยังสามารถจัดการดูแลได้ในพื้นที่เดียวกัน

การปลูกข้าวและเลี้ยงปลาในพื้นที่เดียวกันนั้นทำได้จริง เพราะมีการทดลองแล้วว่าสามารถ
เลี้ยงปลาในนาข้าวได้ โดยปลาที่เลี้ยงได้มีหลากหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน และปลาดุก

วิธีการจัดสรรพื้นที่ ให้เตรียมคูน้ำในแปลงนาโดยมีขนาดกว้างและลึกที่เหมาะสมกับพื้นที่ และสามารถให้ปลาอยู่อาศัยได้ ตัวอย่างเช่น ขนาดพื้นที่แปลงนา 1.5 ไร่ ให้ขุดร่องน้ำบริเวณขอบนาไว้ 2 ด้าน ด้านหนึ่งกว้าง 4.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร อีกด้านกว้าง 1 เมตร ลึก 50 เซนติเมตร เท่านี้ก็จะมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำนา และเลี้ยงปลาในบริเวณเดียวกันแล้ว

เมื่อปล่อยลูกปลาลงไปในนาข้าว ปลาจะกินอาหารตามธรรมชาติที่มีอยู่ในนาข้าว
หรือหากต้องการให้ปลาเติบโตเร็วขึ้น เกษตรกรสามารถให้อาหารสำเร็จรูปเสริมได้
จากผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรสามารถจับปลาขายได้ 1 ครั้งต่อการปลูกข้าว 2 ฤดูกาล

มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงปลาและนำไปขายเฉลี่ยถึง 27,000 บาทต่อไร่เลยทีเดียว

นอกจากเกษตรกรจะมีรายได้เสริมจากการเลี้ยงปลาในนาข้าวแล้ว ปลาที่เลี้ยงยังช่วยกำจัดวัชพืชใต้น้ำ และแมลงศัตรูพืชที่มาวางไข่ในนาข้าวได้ อีกทั้งมูลของปลายังได้กลายมาเป็นปุ๋ยให้กับต้นข้าว ช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษานาข้าวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หากสนใจวิธีการจัดสรรพื้นที่ลักษณะนี้ก็สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากพื้นที่ของคุณเอง หรือสนใจติดต่อเข้าเยี่ยมชม
คูโบต้าฟาร์มเพื่อดูตัวอย่างจริง คลิกเลย

เกษตรชีวิตดีที่ใครก็เริ่มได้ เริ่มต้นเกษตรชีวิตดีกับคูโบต้า

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งานก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ไม่ว่าจะมีพื้นที่เกษตรกรรมมากหรือน้อย พื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ หรือเป็น 100 ไร่ พอถึงช่วงเวลาของการบำรุงรักษาที่ต้องฉีดพ่นสาร เกษตรกรย่อมไม่อยากสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง และถ้าหาแรงงานมาฉีดพ่นสารไม่ได้ จะมีแนวทางจัดการได้อย่างไรบ้าง