ใช้ปุ๋ยสั่งตัด พืชได้รับธาตุอาหารพอดี ไม่สิ้นเปลือง

“นาข้าว ยิ่งเขียว ยิ่งดี” หรือ “ใส่ปุ๋ยมาก ๆ ข้าวจะได้งอกงาม”
จริงหรือ?

จริง ๆ แล้วการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลให้ข้าวบ้าใบ ล้มง่าย รวมถึงมีแมลงเข้ามาทำลาย
จนข้าวเสียหายได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการเพิ่มต้นทุน สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ได้รับผลผลิตต่อไร่ไม่คุ้มค่า
ส่งผลให้เกษตรกรขาดทุนได้

สิ่งแรกที่เกษตรกรควรปฏิบัติก่อนการเริ่มลงมือปลูกข้าวทุกครั้ง คือ การตรวจวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ทราบปริมาณธาตุอาหารหลักในพื้นที่เพาะปลูก

การตรวจวิเคราะห์ดินจะช่วยให้ทราบปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชที่มีอยู่ในดิน ได้แก่ N (ไนโตรเจน)
P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) และค่า pH ของดินในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรทราบว่านาข้าว
มีปริมาณธาตุอาหารหลักเพียงพอต่อความต้องการของข้าวหรือไม่

หากมีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มให้สิ้นเปลือง แต่หากดินยังขาดธาตุอาหาร ควรเติมปุ๋ยให้ในปริมาณที่พอดี ด้วยการใช้ “ปุ๋ยสั่งตัด” ซึ่งเกษตรกรสามารถผสมปุ๋ยใช้เองได้

ยกตัวอย่างเช่น หากผลการตรวจวิเคราะห์ดินมีปริมาณธาตุอาหารต่ำ ควรใช้แม่ปุ๋ย N P K (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) อย่างละ 7 กิโลกรัม มาผสมรวมกันแล้วนำไปแบ่งใช้ 2 รอบ รอบแรก
หลังปักดำ 7-10 วัน และรอบที่ 2 ก่อนข้าวกำเนิดช่อ เพื่อที่จะทำให้นาข้าวได้รับปริมาณอาหารที่เพียงพอ
ต่อการเจริญเติบโตงอกงามได้ดี พร้อมให้เก็บเกี่ยวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์ดิน
จึงมีความสำคัญ เพื่อให้เราสามารถเพิ่มเติมสารอาหารให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ได้

ปุ๋ยสั่งตัดทำให้ข้าวได้รับปุ๋ยในปริมาณที่พอดี มีธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการ ลดปัญหา
ข้าวเสียหาย ช่วยประหยัดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้อย่างดี

เกษตรชีวิตดีที่ใครก็เริ่มได้ เริ่มต้นเกษตรชีวิตดีกับคูโบต้า

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในยุคปัจจุบันที่สภาพอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชผักลำบากมากขึ้น การปลูกผักในโรงเรือนจึงอาจะเป็นทางออกที่ดี ที่มีประสิทธิภาพที่สูง และตอบโจทย์วิกฤตที่เกษตกรกำลังเผชิญอยู่ได้ มาเรียนรู้เทคนิคการปลูกผักในโรงเรือน สร้างผลผลิตได้ตลอดปีในบทความนี้กับ KAS
“แทรกเตอร์ คูโบต้า” เป็นแทรกเตอร์ที่ช่วยทุ่นแรงในการทำการเกษตรให้กับเกษตรกร แต่การใช้งานก็ต้องควบคู่ไปกับการดูแลซ่อมบำรุงรักษา ตรวจเช็กสภาพ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแทรกเตอร์คูโบต้าให้อยู่กับเราไปนาน ๆ เหมือนกับวันแรกที่ตัดสินใจลงทุนซื้อมา เทคนิคในการซ่อมบำรุงรักษาแทรกเตอร์คูโบต้าจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร