รถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม ทำอย่างไร แก้ปัญหาได้เองง่าย ๆ ไม่ยาก

รถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม ทำอย่างไร แก้ปัญหาได้เองง่าย ๆ ไม่ยาก

รถติดหล่ม รถไถแทรกเตอร์ติดหล่ม ปัญหาใหญ่ของการทำนาด้วยเครื่องจักรกลทางการเกษตร
หากเกิดขึ้นมา อาจรบกวนเวลาการทำงานเป็นอย่างมากอีกทั้งยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย
แต่จริง ๆ แล้วปัญหารถติดหล่มสามารถแก้ไขเองได้ไม่ยาก โดยบทความนี้ KUBOTA (Agri) Solutions
ได้นำขั้นตอนการแก้ไขปัญหารถติดหล่มมาให้ถึง 6 วิธี จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ควรเช็คอะไรก่อน เพื่อลดความเสี่ยงรถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม

เนื่องจากพื้นที่การเกษตรนั้นมีลักษณะดินอ่อนนุ่มเป็นพิเศษเนื่องจากมีการไถพรวนอยู่เรื่อย ๆ จึงอาจ
เกิดความเสี่ยงรถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่มได้ ดังนั้นก่อนเริ่มทำการเกษตรจึงควรตรวจเช็กสภาพรถแทรกเตอร์ที่จะใช้ดำเนินการให้แน่ใจว่าไม่มีจุดที่พังเสียหาย และสำรวจประเมินแปลงนา
อย่างละเอียดก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อเช็กให้แน่ใจว่ามีพื้นที่หล่มหรือไม่ โดยทำได้หลายวิธีเช่นถามจาก
เจ้าของแปลงนา หรือขับรถแทรกเตอร์สำรวจรอบพื้นที่ด้วยตัวเอง

ขั้นตอนแก้ปัญหารถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม

เมื่อเกิดปัญหารถติดหล่ม เกษตรกรสามารถเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาได้หลัก ๆ 5 ข้อ ดังนี้

1.    ใช้ล็อกกันฟรี

การใช้ล็อกกันฟรี จะใช้ในกรณีที่รถติดหล่มใหม่ ๆ หรือ ล้อใดล้อหนึ่งเกิดการลื่นฟรี

ซึ่งวิธีการใช้ล็อกกันฟรีจะต้องมีขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้องไม่เช่นนั้นอาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อชิ้นส่วนของเครื่องจักรได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เหยียบคลัตช์ให้สุด
  2. ใช้รอบเครื่องต่ำเท่านั้น
  3. ใช้เกียร์ต่ำเท่านั้น (เกียร์หลักและเกียร์รอง)
  4. เหยียบล็อกกันฟรีให้สุด
  5. ตั้งพวงมาลัยให้ตรง ไม่บิดเลี้ยวระหว่างที่เหยียบล็อกกันฟรี
  6. ค่อย ๆ ปล่อยคลัตช์โดยขณะนั้นต้องเหยียบล็อกกันฟรีอยู่

คำเตือน: ขณะที่เหยียบล็อกกันฟรีค้างไว้และแทรกเตอร์กำลังเคลื่อนอยู่ หากมีการบิดเลี้ยว จะส่งผลให้
ชิ้นส่วนอย่าง เฟือง เพลาล้อ เสื้อเพลาล้อ เสียหายทันที ดังนั้นต้องระวังให้ดี

2.    ใช้การขุดดิน

วิธีนี้เป็นการขุดดินด้านหน้าของล้อทั้ง 4 ล้อ เหมาะสำหรับรถติดหล่มที่จมหนักจนรถคันอื่น ๆ
ก็ไม่สามารถเข้าไปช่วยลากได้ หรือในกรณีที่เหยียบล็อกกันฟรีไม่ขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. ให้ผู้ขับทำการล็อกเบรก ดับเครื่องยนต์ และดึงกุญแจออก จากนั้นก็ลงมาจากแทรกเตอร์
  2. ใช้จอบขุดดิน ขุดบริเวณด้านหน้าของล้อทั้ง 4 ล้อ
  3. ทดสอบโดยการขับแทรกเตอร์ขึ้น โดยใช้วิธีล็อกกันฟรี โดยให้สัญญาณแก่กันก่อนทำการทดสอบเพื่อความปลอดภัย

3.    ใช้รอก

การใช้รอกจะทำในกรณีที่ไม่มีแทรกเตอร์คันอื่นอยู่บริเวณ รถติดหล่ม หรือแทรกเตอร์คันอื่นไม่สามารถ
ลงมาในแปลงได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. ใช้รอกผูกติดกับตัวรถติดหล่มโดยยึดที่คานใบมีดหรือกันชนหน้า และผูกกับจุดยึดที่มั่นคง เช่น ต้นไม้หรือแทรกเตอร์อีกคัน (ยึดคานลากด้านหลัง)
  2. ปลดเกียร์ให้อยู่ในตำแหน่งว่างทั้งหมด และประคองพวงมาลัยให้อยู่ในแนวตรง
  3. ให้ผู้ช่วยปฏิบัติงานชักรอกเพื่อนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม

คำเตือน: กรณีทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องให้สัญญาณในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษา
ความปลอดภัยเสมอ

4.    นำแทรกเตอร์มาช่วยลากรถติดหล่ม

วิธีนี้เป็นการนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มโดยใช้แทรกเตอร์อีกคันมาลาก โดยแทรกเตอร์คันที่จะนำมาลาก
จะต้องมีแรงม้ามากกว่าคันที่ติดหล่ม ซึ่งวิธีนี้สามารถป้องกันความเสียหายได้ดี และลดระยะเวลาในการ
นำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มอีกด้วย

อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีเพียงอย่างเดียวคือสลิงอ่อน (Soft Sling) เพื่อทำการฉุดลาก โดยควรตรวจสอบ
ให้มั่นใจว่าสลิงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ไม่ชำรุดเสียหาย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เพราะจะทำให้บาดเจ็บได้
แต่หากไม่มีสลิงแบบที่ว่าก็สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น โซ่ ซึ่งยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. นำสลิงมาผูกยึดบริเวณระหว่างแทรกเตอร์ทั้งสองคัน (กรณีดึงแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มด้านหน้า
    ให้ยึดที่คานใบมีดหรือกันชนหน้า และ ยึดที่คานลากของแทรกเตอร์อีกคันที่ใช้สำหรับดึงขึ้น)
  2. ให้แทรกเตอร์ที่ติดหล่มใช้รอบเครื่องเดินเบา เกียร์ต่ำ และประคองพวงมาลัยให้อยู่ในแนวตรง
  3. ให้แทรกเตอร์ที่นำมาลาก ใช้รอบเครื่องเดินเบา เกียร์ต่ำ เช่นกัน
  4. ค่อย ๆ ดึงรถติดหล่มขึ้นมา โดยอย่าให้เกิดการกระชากจากรถที่มาลากมากเกินไป

คำเตือน: กรณีทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องให้สัญญาณในการทำงานร่วมกันเพื่อรักษา
ความปลอดภัย และห้ามบุคคลอื่นเข้าใกล้บริเวณที่ฉุดลากเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

สามารถศึกษาวิธีการนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่มเพิ่มเติมได้ที่

แทรกเตอร์ติดหล่ม EP1: วิธีนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม โดยการใช้แทรกเตอร์อีกคันมาลาก

แทรกเตอร์ติดหล่ม EP2 : วิธีใช้ล็อกกันฟรีให้ถูกต้อง เมื่อนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม

แทรกเตอร์ติดหล่ม EP3 : วิธีนำแทรกเตอร์ขึ้นจากหล่ม โดยการใช้จอบขุดดิน

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับปัญหารถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม

รถติดหล่ม รถไถ แทรกเตอร์ติดหล่ม ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หากเกิดขึ้นจะรบกวนเวลาทำการเกษตร
เป็นอย่างมาก แต่หากรู้วิธีการแก้ปัญหารถติดหล่มที่ถูกต้องและเลือกใช้จาก 4 วิธีที่ KUBOTA ได้แนะนำไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทำงานต่อได้ในทันที โดยหากคุณสนใจแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรคุณภาพสูง เราขอแนะนำแทรกเตอร์ 5 รุ่นยอดนิยมฉบับอัปเดตปี 2567 จาก KUBOTA

สามารถคลิกดูแทรกเตอร์ทั้งหมดได้ที่นี่ และสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อได้ที่

  • KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
  • Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
  • ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
  • อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
  • รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลากหลายวิธี โดยการใช้อินทรียวัตถุในรูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด การใช้วัสดุคลุมดินหรือการไถกลบตอซังของพืชที่ปลูก แต่หลายๆวิธีการที่กล่าวมานั้นต้องมีการจัดเตรียมหรือจัดหามาจากแหล่งภายนอก บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการไถกลบ
เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือ ขุมพลังสำหรับเครื่องจักร ที่จะคอยส่งพลังงานให้เครื่องจักร ขับเคลื่อนทำงานในด้านต่าง ๆ เช่นการเกษตร การก่อสร้าง อุตสาหกรรม ฯลฯ ช่วยทดแทนแรงงาน ลดค่าใช้จ่าย โดยเครื่องยนต์ 4 จังหวะคืออะไร มีข้อดีอย่างไร ขั้นตอนการทำงาน แบบไหน ในบทความนี้ KUBOTA จะมาอธิบายให้ฟัง